การศึกษาคุณภาพแบบทดสอบความถนัดทางการเรียน SWUSAT ปีการศึกษา 2553-2555 ตามทฤษฎีการทดสอบแบบมาตรฐานเดิมและทฤษฎีการตอบข้อสอบ

Main Article Content

สุทธิวรรณ พีรศักดิ์โสภณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบความถนัดทางการเรียน SWUSAT ตามทฤษฎีการทดสอบแบบมาตรฐานเดิมและวิธีทฤษฎีการตอบข้อสอบ  2) หาความสัมพันธ์ระหว่างค่าพารามิเตอร์ข้อสอบที่วิเคราะห์โดยทฤษฎีการทดสอบแบบมาตรฐานเดิมและวิธีทฤษฎีการตอบข้อสอบ และ 3) เปรียบเทียบจำนวนข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ใช้ได้ตามวิธีทฤษฎีแบบมาตรฐานเดิมและวิธีทฤษฎีการตอบข้อสอบ  ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์คุณภาพได้จากผลการตอบแบบวัดความถนัดทางการเรียน SWUSAT ของนิสิตระดับปริญญาตรี  ชั้นปีที่ 1 ระหว่างปีการศึกษา 2553-2555 จำนวน 27 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อสอบเป็นรายข้อตามแนวทฤษฎีการทดสอบแบบมาตรฐานเดิมและทฤษฎีการตอบข้อสอบ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ของข้อสอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1.  ผลการวิเคราะห์ข้อสอบความถนัดทางการเรียน SWUSAT53 – 55 ด้วยวิธีการทดสอบแบบมาตรฐานเดิม พบว่า แบบทดสอบฉบับที่มีค่าความยากอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ทุกข้อ คือ N53 – 2  R54 – 1,  S54 – 2, R55 – 2,  S55 – 2 และ S55 – 3  แบบทดสอบฉบับที่มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ทุกข้อ คือ S53 – 1, S53 – 2,  S54 – 3, S54 – 4, S55 – 2 และ S55 – 3 นอกนั้นไม่พบแบบทดสอบฉบับใดที่มีค่าความยากหรือค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ทุกข้อ

              ผลการวิเคราะห์ข้อสอบความถนัดทางการเรียน SWUSAT53 – 55 ด้วยวิธีทฤษฎีการตอบข้อสอบ พบว่า แบบทดสอบที่มีค่าความยากอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ทุกข้อมีเพียงฉบับเดียว คือ
S55 – 3 แบบทดสอบที่มีค่าความยากเฉลี่ยต่ำสุดคือ S54 – 3  และความยากเฉลี่ยสูงสุดคือ V55 – 2 แบบทดสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ทุกข้อ คือ V53 – 1, V53 – 2, N53 – 1, R53 – 1, S53 – 1,  V54 – 1, N54 – 1,  R54 -2,  S54 – 2,   V55 – 1, V55 – 2,  N55 – 2, R55 – 2, S55 -1, S55 -2 และ S55-3 แบบทดสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยต่ำสุดคือ V53 – 2 และที่มีค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยสูงสุดคือ N55 – 1

2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าความยากที่วิเคราะห์โดยวิธีทฤษฎีการทดสอบแบบมาตรฐานเดิมและวิธีทฤษฎีการตอบข้อสอบ พบว่า ทุกฉบับมีความสัมพันธ์กันทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าอำนาจจำแนกที่วิเคราะห์โดยวิธีทฤษฎีการทดสอบแบบมาตรฐานเดิมและวิธีทฤษฎีการตอบข้อสอบ พบว่า มีความสัมพันธ์กันบางฉบับ คือ V53 – 2, R53 – 1, S53 – 1, S53 – 2, V54 – 2, S54-2, N54 – 2, R54 – 2, S54 – 1, V55 – 1, N55 – 2,  R55 – 1 และ R55 – 2  นอกนั้นไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กัน

3. การเปรียบเทียบจำนวนข้อที่ใช้ได้ระหว่างการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทดสอบแบบมาตรฐานเดิมและวิธีทฤษฎีการตอบข้อสอบ พบว่า ฉบับที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ V53 – 2 S54 – 3 V54 – 1 นอกนั้นไม่พบความแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย