การเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพโดยใช้แหล่งคาร์บอนที่ต่างกัน

Main Article Content

ฉัตรลดา เพียซ้าย
อุษา ยิ่งชล
นิตยา บุญเทียน

Abstract

การศึกษาชนิดของสารอินทรีย์คาร์บอนที่เหมาะสมในการกำจัดฟอสฟอรัสในน้ำเสีย โดยใช้ระบบ EBPR ซึ่งจะอาศัยสภาวะแอนแอโรบิก แอนอกซิก และแอโรบิก ใช้สูตรอาหารทั้งหมด 4 สูตร ที่มีอัตราส่วนของกลูโคสต่อกรดอะซิติก (CH3COOH) ที่แตกต่างกัน กำหนด SRT เท่ากับ 20 วัน พบว่าทุกสูตรสามารถกำจัด COD ได้สูง (ร้อยละ 70 - 100) ประสิทธิภาพในการกำจัด NH3 สูงถึงร้อยละ 100 ปริมาณ NO2- และ NO3-  ในน้ำทิ้งมีค่าต่ำกว่า 0.01 และ 0.1 มก./ล.ตามลำดับ แต่สูตรที่ 4 ที่ใช้แหล่งคาร์บอนเป็นอะซิเตท (CH3COONa) ทั้งหมด  มีประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสสูงที่สุดถึงร้อยละ 99 กล่าวได้ว่า PAOs มีความสามารถกำจัดฟอสฟอรัสนั้นอาศัย CH3COONa รวมถึงที่อัตราส่วน COD:P ที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัส 


EFFICIENCY ENHANCEMENT OF BIOLOGICAL PHOSPHORUS REMOVAL WITH DIFFERENCE CARBON SOURCES

The aim of this project is to study biological phosphorous removal in term of different carbon source. Anaerobic-anoxic-aerobic conditions included in enhanced biological phosphorus removal (EBPR). This study used 4 types of synthetic wastewater having different ratio of glucose to acetic acid. The SRT was 20 days. Overall experimental results demonstrated that the COD removal (70 - 100%). The removal efficiency of NH3 found almost 100%. Nitrite and nitrate in the effluent were less than 0.01 and 0.1 mg/L., respectively. However Part 4 was effective in removing phosphorus up to 99%, in which usage of carbon source was 100%. These conditions were suitable for growth of PAOs that have the ability to eliminate phosphorus. Acetate and the ratio of COD:P influenced the efficiency of phosphorus removal.


Article Details

Section
Research Articles