การหาค่าตัวแปรการเชื่อมเสียดทานกวนแบบจุดรอยต่อเกยระหว่างอะลูมิเนียมและเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี

Main Article Content

วรญา วัฒนจิตสิริ
สุรัตน์ ตรัยวนพงศ์
กิตติพงษ์ กิมะพงศ์

Abstract

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาความต้องการใช้งานรอยต่อเกยระหว่างอะลูมิเนียมและเหล็กกล้าในโครงสร้างรถยนต์ คือเรื่องเร่งด่วน เนื่องจากประโยชน์ของรอยต่อลักษณะนี้สามารถลดน้ำหนักโดยรวมของโครงสร้างและประหยัดการใช้พลังงาน ด้วยเหตุนี้การหากระบวนการเชื่อมที่สามารถทำให้เกิดความแข็งแรงสูงของรอยต่อเกยระหว่างวัสดุทั้งสองชนิดนี้จึงมีการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บทความนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรการเชื่อมเสียดทานกวนแบบจุดที่มีผลต่อการเชื่อมรอยต่อเกยระหว่างอะลูมิเนียม AA1100 และเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี SGACD การทดลองถูกออกแบบด้วยวิธีทากูชิและวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมมินิแทป 15 หลังจากนั้นทำการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรการเชื่อมเสียดทานกวนแบบจุดต่างๆ ผลการทดลองโดยสรุปมีดังนี้ สภาวะการเชื่อมที่เหมาะสมที่ทำให้มีความแข็งแรงเฉือน 2165 นิวตัน คือความเร็วรอบ 4000 รอบต่อนาที ความเร็วในการสอดตัวกวน 6 มิลลิเมตรต่อวินาที และเวลากดแช่ 6 วินาที 


FRICTION STIR SPOT WELDING PARAMETERS OPTIMIZATION OF LAP JOINT BETWEEN ALUMINUM ALLOY AND ZINC-COATED STEEL 

In the last decade, the requirement of using aluminum and steel lap joint in car structure was a hot issue because of this type of joint could reduce a gross weight of the structure and save the fuel consumption. So an optimization of a welding process that could produce higher strength of the lap joint between these two materials was continuously investigated and developed.This article aims to study the effect of the friction stir spot welding parameters on AA1100 aluminum alloy and SGACD steel lap joint strength. The experiment was designed by Taguchi design and analyzed with MINITAB15,then investigated the relation among the friction sitr spot welding. The experimental results are as follows. The optimum welding condition that gave the shear strength of 2165 N was the rotating speed of 4000 rpm, the pin insert speed of 6 mm/s and the holding time of 6s. 

Article Details

Section
Research Articles