ESTIMATION OF SALT-SOLUTIONED CAVERN GEOMETRY FROM SUBSIDENCE TROUGH CONFIGURATIONS UNDER SUPER-CRITICAL CONDITION

Main Article Content

Naruemol Saoanunt
Supattra Khamrat
Thanittha Thongprapha
Kittitep Fuenkajorn

Abstract

งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดสอบด้วยแบบจำลองทางกายภาพเพื่อศึกษาการทรุดตัวของผิวดินที่มีผลกระทบของขนาดและรูปร่างของโพรงเกลือที่เกิดจากการละลายบริเวณรอยต่อระหว่างชั้นเกลือหินและชั้นดินปิดทับด้านบน ทรายละเอียดขนาด 2 มิลลิเมตร ได้นำมาใช้เพื่อจำลองชั้นดินปิดทับ การทรุดตัวสูงสุดและความกว้างของการทรุดตัวถูกวัดด้วยเลเซอร์สแกนเนอร์ใน 3 มิติ และได้ทำการจำลองโดยใช้ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขด้วยโปรแกรม PFC เพื่อนำผลมาเปรียบเทียบกับผลการจำลองทางกายภาพ และสร้างความสัมพันธ์กับรูปร่างของโพรงเกลือภายใต้ความเค้นยึดติดและมุมเสียดทานของชั้นดินปิดทับในระดับต่างกัน ผลงานวิจัยระบุว่าความลึกและความกว้างของการทรุดตัวของผิวดินมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อโพรงละลายเกลือมีความกว้างและความสูงมากขึ้น ภายใต้ความสูงของโพรงที่เท่ากัน การทรุดตัวสูงสุดมีค่าลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อชั้นหินปิดทับมีความหนามากขึ้น ผลจากการจำลองทางคอมพิวเตอร์มีความสอดคล้องกับผลที่ได้จากแบบจำลองทางกายภาพเป็นอย่างดี ชุดของสมการเชิงประจักษ์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายผลการทดสอบและผลที่ได้จากการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสมการดังกล่าวสามารถนำมาใช้ประเมินความสูงและความกว้างของโพรงละลายเกลือโดยใช้ข้อมูลจากรูปทรงของการทรุดตัวบนผิวดินและคุณสมบัติเชิงกลศาสตร์ของชั้นหินปิดทับ

Article Details

Section
Research Articles