รูปแบบกระบวนการบังคับคดีผู้ประกันที่มีประสิทธิภาพของสำนักงานศาลยุติธรรม : ศึกษากรณีศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 4 The Effective of Legal Proceeding Patterns in the Courts of Justice for the Execution of Bail : care Studier on the Courts Sub

Authors

  • วันชัย นาสมจิตร
  • สัญญา เคณาภูมิ
  • ภักดี โพธิ์สิงห์
  • วิทยา เจริญศิริ

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องรูปแบบกระบวนการบังคับคดีผู้ประกันที่มีประสิทธิภาพของสำนักงานศาลยุติธรรม : ศึกษากรณีศาลใน
สังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 4 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการบังคับคดี ผู้ประกันของศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 4 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพกระบวนการบังคับคดีผู้ประกันของศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 4 และเพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการบังคับคดีผู้ประกันที่มีประสิทธิภาพของศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 4 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการบังคับคดีผู้ประกันของศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ได้แก่ การไม่สามารถบังคับคดีกับผู้ประกันกรณีบุคคลได้ใช้ตำแหน่งประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย การขายทอดตลาดที่ดินไม่พอชำระหนี้ การขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบังคับคดีผู้ประกันและขาดบุคลากรและเครื่องมือในการออกสืบทรัพย์ 2) ประสิทธิภาพกระบวนการบังคับคดีผู้ประกันของศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 4 พบว่า การบังคับคดีกับผู้ประกันที่ผิดสัญญาประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยยังขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากยังมีหนี้ค้างชำระอยู่เป็นจำนวนมาก แต่บังคับคดีได้น้อยและ
บางคดีไม่สามารถติดตามบังคับคดีได้ อยู่ระหว่างขอจำหน่ายหนี้สูญต่อกรมบัญชีกลาง และ 3) รูปแบบกระบวนการบังคับคดีผู้ประกันที่มีประสิทธิภาพของศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 4 ได้แก่ (1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราว โดยมีหลักประกันที่น่าเชื่อถือเพื่อให้บังคับคดีหลักประกันได้เพียงพอต่อการชำระหนี้ (2) ในแต่ละศาลควรมีหน่วยงานภายในรับผิดชอบในการบังคับคดีผู้ประกันโดยเฉพาะโดยจัดตั้งเป็นกลุ่มงานบังคับคดีผู้ประกัน (3) แก้ไขกฎหมายให้สามารถยึดหรืออายัดสิทธิเรียกร้องจำพวกเงินเดือน ค่าจ้างฯ ของข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานของรัฐได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร เพื่อให้สามารถบังคับค่าปรับกับผู้ประกันนำเงินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) ควรสนับสนุนให้มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring : EM) มาใช้ในคดีบางประเภทกับผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งสมัครใจโดยไม่ต้องใช้หลักประกัน อันเป็นมาตรการเสริมและลดขั้นตอนการบังคับคดีกับผู้ประกันในอนาคตต่อไป คำสำคัญ : รูปแบบ, กระบวนการบังคับคดี, ประสิทธิภาพการดำเนินงาน

Abstract

This study aims to see the problems and obstacles of the legal proceedings of the courts subject to the Office of Chief Justice, Region IV for the Execution of Bail, to the efficiency of the legal proceedings of the courts subject to the Office of Chief Justice, Region IV for the Execution of Bail and to the patterns of the effective the legal proceedings of the courts subject to the Office of Chief Justice, Region IV for the Execution of Bail. It is found that 1) In terms of the problems and obstacles of the legal proceedings of the courts subject to the Office of Chief Justice, Region IV for the Execution of Bail, the legal proceedings were not effective in cases of using a person’s employment positions to bail out an offender or a suspect, and deficient and the offenders not having any other properties to be seized and lack of agency responsible for the legal proceedings for the Execution of Bail and there were no asset-detection tools. 2) In terms of the efficiency of the legal proceedings of the courts subject to the Office of Chief Justice, Region IV for the Execution of Bail, the legal proceedings for breaking bail conditions for the Execution of Bail, offenders or suspects was still very inefficient. 3) The patterns of the effective the legal proceedings of the courts subject to the Office of Chief Justice, Region IV for the Execution of Bail included (1) Allowing offenders or suspects to be released temporarily using the credible bonds. (2) It Should be an internal specialized agency taking responsibility for the legal proceedings of the Execution of Bail. (3) The bail laws should be changed so the agencies can seize or detain rights of claim for salary as well as wage of government officers, employees and public officers as much as the courts determine sufficient payment of the debt. (4) It Should be able to effectively force for the Execution of Bail to use of electronic for tracking some types of offenders and suspects who were willing without using bonds should be introduced. This is the supplementary and reduction of legal proceedings for the Execution of Bail in the future. Keyword : Patterns, Legal proceedings, Effective Operation

Downloads

Published

2017-10-12

How to Cite

นาสมจิตร ว., เคณาภูมิ ส., โพธิ์สิงห์ ภ., & เจริญศิริ ว. (2017). รูปแบบกระบวนการบังคับคดีผู้ประกันที่มีประสิทธิภาพของสำนักงานศาลยุติธรรม : ศึกษากรณีศาลในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 4 The Effective of Legal Proceeding Patterns in the Courts of Justice for the Execution of Bail : care Studier on the Courts Sub. Chophayom Journal, 28(2), 64–74. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/101356

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์