แนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จของวงโปงลางระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Development approach to the success of The secondary levelPonglang Band in the Northeastern

Authors

  • สุกัญญา ทองทิพย์
  • ธนภร เพ่งศรี
  • ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

วงโปงลางระดับมัธยมศึกษาที่มีความสามารถในการแข่งขันจนชนะเลิศระดับประเทศนั้น จะมีวิธีการและองค์ประกอบ ของวงโปงลาง รวมทั้ง แนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ ประกอบของวงโปงลางระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาวงโปงลางระดับมัธยมศึกษาสู่ความสำเร็จ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต มีการเก็บข้อมูลด้านเอกสาร และข้อมูลภาคสนามโดยได้จากการ การสัมภาษณ์การ สังเกตจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 6 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 12 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 8 คน โดยได้คัดเลือกวงโปงลาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ วงโปงลางแสนเมือง โรงเรียนหนองเรือวิทยา จังหวัดขอนแก่น วงดนตรีพื้นเมืองโปงลางโรงเรียน ผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม วงมูลมังฝั่งน้ำโขงจังหวัดหนองคาย วงดนตรีโปงลางโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรค์จังหวัดกาฬสินธุ์ วงโปงลางสวา่งแดนดินศิลป์อีสานจังหวัดสกลนคร วงโปงลางสตรีสิริเกศโรงเรยีน จงัหวัดศรีสะเกษ ระหว่าง ตุลาคม 2554 ถึง มีนาคม 2558 นำข้อมูลมาตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และนำเสนอผลการวิจัย ในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยดังนี้ การวิเคราะห์องค์ประกอบของวงโปงลางระดับมัธยมศึกษา พบว่า องค์ประกอบของวงโปงลาง ซึ่งประกอบไปด้วย บุคลากรทมี่สีว่นช่วยในการประกวดวงโปลางสู่ผลสำเร็จ เครื่องดนตรีต้องเป็นเครื่องดนตรที่มีคุณภาพ เสียงไม่เ่พี้ยน ชุดที่ใส่ประกอบ การแสดงวงโปงลางจะต้ออทำมาจากผ้าพื้นเมืองอีสาน และสื่อการสอนวงโปงลางเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาฝีมือของตนเองตลอดเวลา สำหรับแนวทางพัฒนาสู่ความสำเร็จของวงโปงลางจะต้องพัฒนาองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1) การพัฒนาการวางแผนเพื่อการบริหาร จัดการวงโปงลาง 2) การบริหารจัดการการฝึกซ้อมดนตรี นาฏศิลป์ การขับร้อง 3) ด้านการเตรียมความพร้อมก่อนการแข่งขัน 4) ด้านการสร้างประสบการณ์ 5) ด้านการสืบทอดของวงโปงลาง 6) การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของสมาชิกในวงโปงลาง แนวทางการพัฒนาวงโปงลางระดับมัธยมึกษาสู่ความสำเร็จ ผลการวิเคราะห์เนื้อหา จากการสัมภาษณ์ พบว่าผู้บริหาร โรงเรียนทุกโรงเรียนต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมการเล่นดนตรีพื้นเมืองอีสาน ต้องให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการเล่นดนตรีพื้นเมืองอีสาน ควรให้มีการอบรม สัมมนา ประชุมร่วมของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม ดนตรีพื้นเมืองอีสานและครูผู้ที่มีความสนใจทางด้านดนตรีพื้นเมืองอีสาน เพื่อให้ทราบแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ควรมีการนิเทศและ ติดตามผลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับอย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ : แนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จ, วงโปงลาง, ระดับมัธยมศึกษา

Abstract

The secondary level Ponglang Band is capable in the competition to win a national championship. It has to be methods and elements of the Ponglang band including development approach to the success. This qualitative research aimed at: 1) Study about to elements of the Ponglang band. 2) Study about to development approach to the success.The research tools included : interview forms, an observation form. Written documents and fieldwork data were collected. Fieldwork data were obtained interviews, observations, from 6 key-informants, 12 casual informants, and 8 general informants, recruited the Ponglang band in the Northeast. Target audience have Sanmang band in KhonKaen province, Padungnaree folk music in Maha Sarakham province, Moonmungfungnoawkong band in NongKhai province, Kalasinpittayasun band in Kalasin province, Sawangdandin band in Sawangdandin province, Streesirikat band in Srisraket province, between October 2011 and March 2015. Data were checked for their accountability, with the triangulation techniques analyzed according to the given objectives, and the results of the study were presented in a descriptive analysis form. Research result. Analysis of elements of the Pong Lang high school.The results showed that Sunday features the band spanning. People who took part in the contest to succeed Po Lang. The instrument is a quality instrument. Audio distortion Set to enter the show ring will be made of local fabrics Dance East. Dance band and teaching materials for students to develop their own in-time copies. For the development to the success of the Dance will develop the following elements: 1. The development plan for the management of the Sunday two administration rehearsals, music, dance, singing three areas of preparation before the match, four of. Experience the fifth recipient of the sixth Sunday of Ethical Development of the band members Sunday. Development approach to the success. Content analysis Interview School administrators found that all school-sponsored activities, playing folk music East. Require that all parties involved in the promotion play folk music seminars East should be a joint meeting of school administrators. Teachers and local music events east and teachers who are interested in music native East. To know the practices together. There should be supervised and monitored by those involved at all levels continuously. Keywords : Development approach to the success, Ponglang Band, The secondary level

Downloads

Published

2017-10-16

How to Cite

ทองทิพย์ ส., เพ่งศรี ธ., & ชาญสุวรรณ ป. (2017). แนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จของวงโปงลางระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Development approach to the success of The secondary levelPonglang Band in the Northeastern. Chophayom Journal, 28(2), 146–153. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/101503

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์