ท่ารำเซิ้งกระติบข้าวชาวหนองโน โอทอปมหาสารคาม จากวิธีหัตถกรรมการจักสานสู่ท่ารำนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานสร้างสรรค์ Nongno’sKratip Kao Dance Move,MahaSarakham’s OTOP from Handicraft Creation to Isan Creative Dance Move

Authors

  • พิราภรณ์ พันธุ์มณี

Abstract

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการประยุกต์ท่ารำนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานซึ่งสร้างสรรค์จากวิถี
หัตถกรรมการจักสานกระติบข้าวของชาวบ้านหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามที่มีวิถีการดำเนินชีวิตยาวนานและมีสินค้าที่ได้ รับรางวัล OTOP จังหวัดมหาสารคาม โดยนำมาร่วมกับดนตรีพื้นบ้านจนได้ประดิษฐ์ท่ารำเซิ้งกระติบข้าวชาวหนองโน OTOP มหาสารคาม หมู่บ้านหนองโน ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ขึ้นชื่อ นั่นคือ กระติบข้าว ซึ่งผลิตจากต้นกก ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้นตามธรรมชาติ ชาวบ้านหนองโนได้นำทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเอง นั่นคือ ต้นกก มาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านหัตถกรรมจักสานจนเป็นอาชีพสำรอง หลังจากว่างจากการทำนาทำไร่ และเกิดเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ขึ้น สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีนโยบายให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาผลิตภัณฑ์ OTOP กระติบข้าวของชาวบ้านหนองโน ที่เป็นหัตถกรรมจักสานจากต้นกก จึงได้ประดิษฐ์ชุดการแสดง ชื่อว่า “เซิ้งสานกระติบข้าวชาวหนองโนโอทอปมหาสารคาม” ขึ้น เพื่อเป็นเอกลักษณ์และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนมีความมั่นคง และสามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตด้านหัตถกรรมการจักสานแก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน คำสำคัญ : กระติบข้าวหนองโน , หัตถกรรมการจักสาน , ท่ารำเซิ้ง

Abstract

This academic research isqualitative research which aims to apply local Isan dance moves created from Kratip Kao handicraftto local music. The Kratip Kao handicraft is the idea created by Nongno’s villagers in Muang District, Maha Sarakham. These villagers have a long history of their ways of life and their product won One Tumbon One Product (OTOP)of Maha Sarakham Province. Nongno Villange, located in TumbonNongno, Muang Distract, Maha Sarakham, is a village that has famous OTOP product which is Kratip Kao. Kratip Kao is a product made of papyrus, a local plant that grows naturally. The villagers in Nongno Village use papyrus, their local resourceto create handicraft products. This is another way for them to earn more income during their free time after farming. One Tumbon One Product starts from this activity and it can create alternative career for villagers. Rajabhat Maha Sarakham University has a policy of research for local development in accordance with government policies. The researcher is interested in studying Kratip Kao, the OTOP product made of
papyrus. Therefore, the researcher creates a show called, “Kratip Kao Dance of Nongno’s OTOP in Maha Sarakham” to show the identity and to promote the local product to be more well-known. This will be able to help stable community economy and sustainably develop handicraft products for the community. Keyword: Nongno’sKratip Kao,handicraft, Isan dance

Downloads

Published

2017-10-16

How to Cite

พันธุ์มณี พ. (2017). ท่ารำเซิ้งกระติบข้าวชาวหนองโน โอทอปมหาสารคาม จากวิธีหัตถกรรมการจักสานสู่ท่ารำนาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานสร้างสรรค์ Nongno’sKratip Kao Dance Move,MahaSarakham’s OTOP from Handicraft Creation to Isan Creative Dance Move. Chophayom Journal, 28(2), 186–193. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/101513

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์