ประสิทธิผลของโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัด เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม Effectiveness of Behavioral Intervention Program with Literature Therapy Activities

Authors

  • ชมพูนุท เมฆเมืองทอง
  • นิรุต ถึงนาค

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัด
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 40 คน ใช้แบบแผนการทดลองแบบ Pretest-Posttest Control group Design เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณ ค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.9223 โปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัด จำนวน 3 ชุดกิจกรรม มีค่าความเหมาะสมในระดับมาก และแบบประเมินความพึงพอใจ ค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.6694 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) โปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการคิดเชื่อมโยง และการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณ การจัดการเรียนรู้ใช้หลักเรียนรู้แบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ในชั้นเรียน ที่ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 5 ขั้นตอน และการจัดการเรียนรู้ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ 7 ขั้นตอน 2) ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบ????ำบัดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่าภายหลังการใช้โปรแกรมนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักศึกษาที่มีเพศและคะแนนผลการเรียนเฉลี่ยแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณแตกต่างกัน และนักศึกษามีความพึงพอใจในระดับมาก ( \bar{x}= 4.10, S.D.=0.40)
คำสำคัญ: โปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์, วรรณกรรมบำบัด

Abstract

The main aim of this experimental research is to examine the effectiveness of behavioral intervention program with literature therapy activities. The samples were 40 students in Rajabhat Mahasarakham University. This experimental design was pretest-posttest control group design. The research instruments were composed of the critical internet consumption behavior evaluation form had the reliability were 0.9223, 3 activity packages on behavioral intervention program with literature therapy activities had the value of appropriateness
in high level and the satisfaction questionnaires had the reliability were 0.6694. Research data was analyzed by percentage, mean, standard deviation, and t-test. The research findings were as followed: 1) The behavioral intervention program with literature therapy activities consisted of 3 elements: developing critical thinking, associative thinking and critical internet consumption. The instructional process consists of learning activity in classroom combine with 6 steps, create their own knowledge combine with 5 steps with learning activity in online social network combine with 7 stepsr. 2) The effectiveness ofbehavioral intervention program with literature therapy activitieswere the post-test scores were significantly higher than the pre-test scores at the .01 level. Students of different sex and critical internet consumption behaviorlevel not significantly gained critical internet-consumption behavior at the .01 level. Students were satisfied at high level ( \bar{x}= 4.10, S.D.=0.40) Keyword: Behavioral intervention program and Literature therapy activities.

Downloads

Published

2017-10-19

How to Cite

เมฆเมืองทอง ช., & ถึงนาค น. (2017). ประสิทธิผลของโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัด เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม Effectiveness of Behavioral Intervention Program with Literature Therapy Activities. Chophayom Journal, 28(2), 228–239. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/101846

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์