การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง อักษรโบราณอีสานใน หลักสูตรท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างเรียน ด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบมัลติมีเดียกับการเรียนแบบปกติ A Comparison of the Learning Achievment of Matthayom Suksa 1 Students between Learning Is

Authors

  • เลอสันต์ ฤทธิขันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียนแบบมัลติมีเดีย เรื่องอักษรโบราณอีสานในหลักสูตรท้องถิ่น (อักษรธรรมอีสาน) สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียนแบบมัลติมีเดีย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ที่เรียนอักษรโบราณอีสานในหลักสูตรท้องถิ่น ด้วยโปรแกรมบทเรียนมัลติมีเดียกับการเรียนแบบปกติ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่อการเรียน โดยการใช้ โปรแกรมบทเรียนแบบมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนผดุงนารี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster RandomSampling) จำนวน 60 คน แล้วแบ่งนักเรียนเป็นออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1)กลุ่มทดลองเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนมัลติมีเดีย จำนวน 30 คน (2) กลุ่มควบคุมเรียนแบบปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1)โปรแกรมบทเรียนแบบมัลติมีเดีย เรื่องอักษรโบราณอีสานในหลักสูตรท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ วิชาอักษรโบราณอีสานเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่0.21 ถึง 0.57 (3)แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20ถึง 0.60 (4)แบบวัดความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน หลังการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน เรื่องอักษรโบราณอีสาน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) แบ่งระดับความพึงพอใจ เป็น 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติ Hotelling’s T2 และ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. โปรแกรมบทเรียนมัลติมีเดียว เรื่องอักษรโบราณอีสานในหลักสูตรท้องถิ่นของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ83.08/81.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80

2. ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ0.6231 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 62.31

3. นักเรียนที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนมัลติมีเดีย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนมัลติมีเดียเรื่องอักษรโบราณอีสานในหลักสูตรท้องถิ่นของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียน 4.57


Downloads

How to Cite

ฤทธิขันธ์ เ. (2014). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง อักษรโบราณอีสานใน หลักสูตรท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างเรียน ด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบมัลติมีเดียกับการเรียนแบบปกติ A Comparison of the Learning Achievment of Matthayom Suksa 1 Students between Learning Is. Chophayom Journal, 24, 30–42. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/15804

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์