การจัดสำเนียงย่อยของกลุ่มภาษาพวนในจังหวัดบันทายมีชัย และจังหวัดพระตะบองประเทศกัมพูชา A Classification of the Accents of Phuan in Banteay Meanchey and Battambang Provinc, Cambodia.

Authors

  • หทัยรัตน์ จตุรภัทรวงศ์
  • ธนานันท์ ตรงดี
  • ดุจฉัตร จิตบรรจง

Abstract

บทคัดย่อ
ภาษาพวนเป็นภาษาหนึ่งในภาษาไทสาขาตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งในประเทศไทยได้มีผู้ศึกษาไว้หลายพื้นที่ และจัดได้เป็นหลายกลุ่ม แต่ในบริเวณจังหวัดบันทายมีชัย และจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชายังไม่มีผู้ศึกษาไว้ จึงเป็นพื้นที่ที่ควรศึกษางานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระบบเสียงภาษาพวนในพื้นที่ดังกล่าว แล้วนำมาจัดสำเนียงย่อยของกลุ่มภาษาพวน จุดเก็บข้อมูลภาษาพวนมี 11 หมู่บ้าน เก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษาหลักหมู่บ้านละ 1 คน และผู้บอกภาษารองหมู่บ้านละ 1 คน รวม22 คน โดยใช้รายการคำศัพท์พื้นฐานจำนวน 1,500 คำ เพื่อวิเคราะห์ระบบเสียงพยัญชนะและสระ และใช้รายการคำศัพท์สำหรับวิเคราะห์เสียงวรรณยุกต์ 2 ชุด ชุดที่ 1 วิเคราะห์ด้วยการฟังเพื่อดูการแยกเสียงรวมเสียงวรรณยุกต์ ชุดที่ 2 วิเคราะห์ด้วยวิธีทางกลสัทศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์คือโปรแกรม Praat และ Microsoft Excel ผลการวิจัยพบว่า ภาษาพวนในจังหวัดบันทายมีชัย และจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชาทั้ง 11 หมู่บ้าน มีระบบพยัญชนะ และสระไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ มีหน่วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว 20 หน่วยเสียง ปรากฏเป็นพยัญชนะท้ายได้ 9 หน่วยเสียง ไม่มีหน่วยเสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำ มีหน่วยเสียงสระเดี่ยว จำนวน 18 หน่วยเสียง หน่วยเสียงสระประสม จำนวน 3 หน่วยเสียง ส่วนระบบเสียงวรรณยุกต์ มีจำนวน 6 หน่วยเสียง เหมือนกันทั้ง 11 หมู่บ้าน แต่มีระดับเสียงแตกต่างกัน จึงสามารถนำมาจัดสำเนียงย่อยได้เป็น 4 สำเนียงผลการศึกษาการจัดสำเนียงย่อยของกลุ่มภาษาพวนในครั้งนี้ เมื่อนำไปประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์สามารถที่จะสันนิษฐานได้ว่าชาวพวนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเดียวกัน และได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งอยู่ในบริเวณนี้ในคราวเดียวกัน ในเวลาต่อมาต่างก็ได้แยกย้ายกระจายกันออกไปเป็นหลายหมู่บ้าน และมีสำเนียงแตกต่างกันออกไป

 

ABSTRACT
Phuan is one of Southwestern Tai languages. In Thailand it has been studied in different areaexcept Banteay Meanchey and Battambang Cambodia which have not been studied so far. Therefore,these areas become very interesting. The objectives of this thesis are to study phonological systems in order to subgroup the Phuan languages. The fieldwork data were collected from interviewing informants of each of the groups inhabiting in 11 villages of Banteay Meanchey and Battambang province, Cambodia. In each village, 1 major informant and 1 minor informant and total 22 informants were interviewed. List of 1,500 basic words were used to record and analysis phonemes of consonants and vowels.Two wordlists were used for analysis shared innovation of tone split and tone merger. The acoustic characteristics were analyzed by using the Praat and Microsoft Excel program.The results of this study reveal that as for consonant sounds, there are 20 consonant phonemes occurring at an initial position and 9 consonant phonemes occurring at a final position, without consonant cluster. For the vowel sound, there are 18 monopthongs and 3 diphthongs. As for tonal sounds, there are 6 tone. All of 11 villages are similar tonal system but difference in 4 accents. In conclusion, the results from this study including to literature review indicated that Puan population may be immigrated from the same area in the same time to habitat in the same group.

Downloads

How to Cite

จตุรภัทรวงศ์ ห., ตรงดี ธ., & จิตบรรจง ด. (2016). การจัดสำเนียงย่อยของกลุ่มภาษาพวนในจังหวัดบันทายมีชัย และจังหวัดพระตะบองประเทศกัมพูชา A Classification of the Accents of Phuan in Banteay Meanchey and Battambang Provinc, Cambodia. Chophayom Journal, 27(2). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/73488

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์