ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างความผูกพันต่อองค์กรการสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร Structural Relationship among Organizational Engagement, Emplo

Authors

  • ปานกมล ทรัพยสาร
  • กัลยาณี เสนาสุ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของความผูกพันต่อองค์กร การสร้างเสริมความสามารถของพนักงาน
และประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ใช้การเก็บแบบสอบถามจาก ครู อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เปิดสอนสายพาณิชยการ สาขา การบัญชี การตลาด
คอมพิวเตอร์ธุรกิจและธุรกิจค้าปลีก จำนวน 296 คน ใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation
Modeling: SEM)

ผลการวิจัยแสดงว่าความผูกพันต่อองค์กรการสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและประสิทธิผลในการ
ปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กันแบบมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อกัน โดยความผูกพันต่อองค์กรมีอิทธิพลรวมต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 77 การสร้างเสริมความสามารถของพนักงานมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 91 และความผูกพันต่อองค์กรกับการสร้างเสริมความสามารถของพนักงานมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อกันที่ 0.84 ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานการวิจัย และโมเดลสมการโครงสร้างที่ได้มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี การทดสอบสถิติ ไค-สแควร์ เท่ากับ 15.979 p-value เท่ากับ 0.142 องศาอิสระ (DF) เท่ากับ 11 และไค-สแควร์สัมพัทธ์ (CMID/DF) เท่ากับ 1.453 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) ดัชนีความคลาดเคลื่อน RMSEA และค่าดัชนี CFI มีค่าเท่ากับ 0.985, 0.039 และ 0.995 ตามลำดับผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงความผูกพันต่อองค์กรซึ่งเป็นเรื่องของตัวบุคคลนั้นอยู่ในระดับสูงอยู่แล้วและเมื่อมีการสร้างเสริมความสามารถของพนักงาน ซึ่งเป็นเรื่องขององค์กรเข้ามายิ่งส่งเสริมให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้นและทำให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติงานได้มากกว่าการที่บุคลากรในองค์กรจะมีแต่ความผูกพันต่อองค์กรเพียงอย่างเดียว ดังนั้นองค์กรจึงควรส่งเสริมให้มีการสร้างเสริมความสามารถของพนักงานเข้ามา ซึ่งจะสามารถช่วยให้ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

ABSTRACT

The purpose of this research is to study the structural relationship among organizational
engagement, employee enablement and work effectiveness by using questionnaires to collect data from teachers and staff of Vocational Colleges under the Office of the Vocational Education Commission Employees in Bangkok Metropolitan Area that provide commercial programs consisting of accounting, marketing, business computer and retail business. A total of 296 samples were analyzed by structural equation model (SEM).

The study results that organizational engagement, employee enablement and work
effectiveness are positive related. The total positive effect of organizational engagement to workeffectiveness is statistically significant at 0.77. While the total direct positive effect on employeeenablement to work effectiveness is 0.90. Additionally, OE positively direct to employee enablement

is 0.84. The model is a good fit to the empirical data (chi- square=14.903, p =0.187, DF = 11, CMID/DF = 1.355, GFI = 0.986, RMSEA = 0.035 and CFI = 0.996).
The study also reveals that organizational engagement which is a person subject and has
already been at a high level could enhance work effectiveness by adding employee enablement which is an organization subject. Therefore, organization should found on both organizational engagement and employee enablement to improve work effectiveness.

Downloads

How to Cite

ทรัพยสาร ป., & เสนาสุ ก. (2016). ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างความผูกพันต่อองค์กรการสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร Structural Relationship among Organizational Engagement, Emplo. Chophayom Journal, 27(2), 63–72. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/73492

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์