การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียน ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • ทิตยาภา บานเย็น
  • ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์
  • อนุวัต ชัยเกียรติธรรม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาและตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ ที่จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาและตามแนวคิดสมองเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาและตามแนวคิดสมองเป็นฐานระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเจตคติต่อการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาและตามแนวคิดสมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตานีวิทยา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 62 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ClusterRandom Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาและตามแนวคิดสมองเป็นฐาน จำนวนรูปแบบละ 9 แผน มีค่าเฉลี่ยรายแผนตั้งแต่ 4.44- 4.96 และ 4.40- 4.96 ตามลำดับ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.22 -0.52 มีค่าความยากระหว่าง 0.22 - 0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.90 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.23 - 0.56 มีค่าความยากระหว่าง 0.28 – 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.92 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 อันดับจำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.39 - 0.74 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α ) เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

Downloads

How to Cite

บานเย็น ท., ธนาพงษ์อนันท์ ณ., & ชัยเกียรติธรรม อ. (2016). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียน ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาและการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Chophayom Journal, 27(2), 103–111. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/73496

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์