พฤติกรรมการใช้ ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัล ของขาวภูไท Usage Behavior And Gratification From Digital Media Of Phu-Thai

Authors

  • สุธีรา คงอยู่
  • ปริยา รินรัตนากร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล ของชาวภูไท 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลกับการใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลของชาวภูไท 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลกับความพึงพอใจต่อการใช้สื่อดิจิทัลของชาวภูไท และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลของชาวภูไทกับความพึงพอใจต่อการใช้สื่อดิจิทัลของชาวภูไท ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ชุด โดยใช้วิธีการลุ่ม ตัวอย่าง แบบโค้วต้า และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อคำนวณหาค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ค่าสถิติ Chi-square เพื่อทดสอบความแตกต่างและการทดสอบความแตก ต่างระหว่าง ค่าเฉลี่ย (F - Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และ Least Significant Difference: LSD และความสัมพันธ์ซองตัวแปร ใช้ค่าสถิติ Correlation เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ผลการศึกษา พบว่าลักษณะประชากรของชาวภูไทที่ใช้สื่อดิจิทัลเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18 – 30 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรสแล้วมากที่สุด และประกอบอาชีพพนักงานบริษัท /ลูกจ้าง โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 20,000 ในส่วนของพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล พบว่าชาวภูไทใช้สื่อดิจิทัลประเภทFacebook มากที่สุด โดยเหตุผลสำคัญในการใช้สื่อดิจิทัล เพื่อการผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อสื่อดิจิทัลใช้Smartphone เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสื่อดิจิทัล มีระยะเวลา 4 - 6 ชั่วโมง/ วัน โดยเฉลี่ยต่อวันที่ใช้สื่อดิจิทัล ในช่วงเวลา 18.01 น. – 22.00 น. ที่ใช้สื่อดิจิทัลเป็นประจำและมีแนวโน้มในการใช้ ใช้สื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวันเท่าเดิมและความพึงพอใจของชาวภูไทที่ใช้สื่อดิจิทัล พบว่า ชาวภูไทมีความพึงพอใจในความทันสมัยของสื่อดิจิทัลมากที่สุด และการใช้ประโยชน์ของชาวภูไทที่ใช้สื่อดิจิทัล พบว่า ชาวภูไทมีการใช้สื่อดิจิทัลในด้านความบันเทิงมากที่สุด รองลงมาชาวภูไทมีการใช้สื่อดิจิทัลในด้านการมีส่วนร่วมในท้องถิ่น และชาวภูไทมีการใช้สื่อดิจิทัลในด้านการตัดสินใจน้อยที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรของชาวภูไทที่แตกต่างกัน กับ พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล พบว่าชาวภูไทที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษาสถานภาพสมรส อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่มีความแตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมในการใช้สื่อดิจิทัล อาทิ ประเภทของสื่อที่ใช้ เหตุผลในการใช้สื่อ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ ความถี่ในการใช้สื่อ ช่วงเวลาในการใช้ และแนวโน้มในการใช้สื่อดิจิทัล มีความแตกต่างกัน ในส่วนของพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลแตกต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลในด้านต่าง ๆ แตกต่างกัน พบว่า เมื่อพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลแตกต่างกัน การใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลในด้านการเรียนรู้และติดตามข่าวสาร ด้านการตัดสินใจ ด้านความบันเทิง และด้านการมีส่วนร่วมในท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน และพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล กับ ความพึงพอใจต่อการใช้สื่อดิจิทัล พบว่า เมื่อพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลมีความแตกต่างกัน ความพึงพอใจต่อการใช้สื่อดิจิทัลแตกต่างกัน และการใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลของชาวภูไทกับความพึงพอใจต่อการใช้สื่อดิจิทัล พบว่า การใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลของชาวภูไทมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการใช้สื่อดิจิทัล คำสำคัญ : พฤติกรรมการใช้สื่อ, ความพึงพอใจต่อการใช้สื่อ, การใช้ประโยชน์ของการใช้สื่อ, ชาวภูไท

ABSTRACT

The objectives of this study were as follows: (1) To compare a difference between
Demographic Characteristics with Digital media using behavior of Phu-Thai citizen; (2) To compare a difference between Digital media using behavior with Digital media utilization of Phu- Thai citizen; (3) To compare a difference between Digital media using behavior with Digital media using satisfaction of Phu-Thai citizen; and (4) To examine a relationship between Digital media utilization with Digital media using satisfaction of Phu-Thai citizen.
The researcher used a sample of 400 cases was selected by quota sampling method
and analyzed the descriptive statistics by SPSS program to find out the Percentage, Frequency, Average and Standard Deviation. Test a difference by Chi-Square statistic. Test a difference between averages (F-Test), analysis of variances (One Way ANOVA)with Least Signification Difference (LSD) to test the relationship of values by Correlation statistic and find out the relationship between both values. The result of the study was found that Demographic characteristics of Phu-Thai citizen users are female more than male, aged between 18 to 30 years old, bachelor's degree graduates, married and employed in a company that has a monthly income of 15,001 to 20,000 baht. Digital media using behavior of Phu-Thai citizen was found that Facebook is the top of digital media were used and has the reason of using to reduce the stress in a life.Usersconnected on a Smartphone device that spent time of 4 to 6 hours per day, period of a day to use during 6.01 to 10.00 pm. and likely to be stable time to use. Digital media using satisfaction of Phu-Thai citizen was found that a modern of a digital media is maximum were satisfied. Digital media utilization of Phu-Thai citizen was found that first, an entertainment is maximum were used, followed by the community participation and finally, they were least used to decision. The result of hypothesis testing was found that Demographic characteristics and Digital media using behavior of Phu-Thai citizen - a sexual, ages, education, marital status, career and average monthly income; that’s different affected to Digital media using behaviorsuch as a typeof digital media, reason of digital media using, device for connection, frequency of digital mediausing, time of digital media using, period of a day and digital media using likely to different. The differences between Digital media using behavior and Digital media utilization in study case of Phu-Thai citizen was found that Digital media using behavior differently affected to Digital mediautilization as learning and receive information, decision, entertainment and the community participation were different. Digital media using behavior and Digital media using satisfaction of Phu-Thai citizen was found that Digital media using behavior differently affected to Digital media using satisfaction were different. Last Digital media utilization and Digital media using satisfaction of Phu-Thai citizen was found that Digital media utilization of Phu-Thai citizen related with Digital media using satisfaction of Phu-Thai citizen. Keywords : Media using behavior, Media using satisfaction, Media utilization, Phu-Thai citizen

Downloads

Published

2017-06-06

How to Cite

คงอยู่ ส., & รินรัตนากร ป. (2017). พฤติกรรมการใช้ ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัล ของขาวภูไท Usage Behavior And Gratification From Digital Media Of Phu-Thai. Chophayom Journal, 28(1), 231–236. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/88924

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์