การวิเคราะห์ลักษณะการปนภาษาในการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม Code Mixing Characteristics Analysis in Working of Public Health Promoting Hospital Officers in Maha Sarakham Province

Authors

  • อนุวัต ชัยเกียรติธรรม

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะการปนภาษาในการทำงานของบุคลากร และ 2) ศึกษาระดับเจตคติที่มีต่อการปนภาษาในการทำงานของบุคลากร รพ.สต. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 67 คน ปฏิบัติหน้าที่ใน รพ.สต. เฉพาะเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบฟอร์มวิเคราะห์ข้อความปนภาษา หนังสือ ตำรา สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถี่ ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อความปนภาษามทั้งหมด 494 ข้อความ ประโยคพบมากที่สุดคือ ประโยคความเดียว จำนวน 210 ข้อ ความ รูปแบบบอกเล่า จำนวน 204 ข้อความ และนามวลี จำนวน 37 คำ เมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างข้อความที่ใช้พูดและเขียน พบว่า ข้อความที่ใช้พูดมีมากกว่า แต่พิจารณาเป็น รายคำ พบว่า คำที่ใช้เขียนและวลีที่ใช้เขียนมีมากกว่า นอกจากนี้ ยังพบว่า การใช้คำปนภาษาที่เกี่ยวกับโรค อาการ และคำที่เกี่ยวข้องมีมากที่สุด จำนวน 100 คำ ส่วนคำย่อ ถูกใช้ในการปนภาษามากที่สุด จำนวน 57 คำ 2. เจตคติที่มีต่อการปนภาษา พบว่า ในภาพรวมมีเจตคติระดับมากต่อการปนภาษา ( gif.latex?\bar{x}= 3.82, S.D. = 0.87) คำสำคัญ : การวิเคราะห์ การปนภาษา ภาษาอังกฤษในงานสาธารณสุข

ABSTRACT
This research aimed to 1) analyse the categories of code mixing in working of public health promoting hospital officers and 2) study the attitude on code mixing in working of public health promoting hospital officers in Maha Sarakham province. The target group was 67 public health officers who work only in Muang sub-district Maha Sarakham province. The instruments were structured interview, language mixing form, books, text books, mass medias and websites. The statistics used in analyzing data were percentage, mean, standard deviation and frequency distribution. Results of the study revealed the following: 1. There were 494 code mixing sentences which were totally kept. They were mostly found in 210 simple sentences, 204 affirmative sentences, and 37 noun phrases. When the comparison between speaking and writing sentences were found that speaking sentences were used more than writing sentences. Considering in individual words, words used for writing and noun phrases were found in higher collection. Moreover, code mixing usage in diseases, symptoms, and related words were found with 100 words and 57 initial words were found. 2. The overall attitude on code-mixing of public health officers was at a high level ( gif.latex?\bar{x}= 3.82, S.D. = 0.87) Keywords : Analysis, Code mixing, English for public health

Downloads

Published

2018-05-31

How to Cite

ชัยเกียรติธรรม อ. (2018). การวิเคราะห์ลักษณะการปนภาษาในการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม Code Mixing Characteristics Analysis in Working of Public Health Promoting Hospital Officers in Maha Sarakham Province. Chophayom Journal, 29(1), 397–414. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/126474

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์