การผลิตชุดความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสำหรับชุมชน : วิถีชีวิต วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง The Production of Knowledge Collection from Cultural Wisdom for Community: Folkways and Sufficiency from the Application of Knowledge with Sufficiency Eco

Authors

  • ระพีพันธ์ ศิริสัมพันธ์
  • รชพรรณ ฆารพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการผลิตชุดความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสำหรับชุมชน : วิถีชีวิต วิถีพอเพียง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ประสบการณ์ และวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2) เพื่อผลิตชุดความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสำหรับชุมชน : วิถีชีวิต วิถีพอเพียง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าของกิจการฟาร์มที่ทำการเกษตรโดยใช้หลักของเกษตรทฤษฏีใหม่ในการนำร่องพัฒนาพื้นที่ และใช้หลักการในการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบพอเพียงในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 7 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Document) และ เก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนาม (Field Study) โดยการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ และผลิตชุดความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสำหรับชุมชน : วิถีชีวิต วิถีพอเพียง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลการศึกษา จากการวิจัยพบว่าการจัดการฟาร์มของยายดา-ตาสิมฟาร์มเป็นการจัดการแบบเกษตรผสมผสานที่ทำการเกษตรปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ โดยมุ่งพื้นฟูพัฒนาดินเป็นสำคัญใช้แนวทางการแก้ปัญหาทางการเกษตรจากแนวพระราชดำริเรื่องของเกษตรทฤษฏีใหม่ อาทิ โครงการแกล้งดิน,โคก หนอง นา โมเดล และการจัดสรรพื้นที่ตามหลักเกษตรทฤษฏีใหม่ 30 : 30 : 30 : 10 เป็นต้น ภายในฟาร์มมีกิจกรรมการผลิตมากกว่าสองกิจกรรมในเวลาที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันกิจกรรมจะเกื้อหนุนซึ่งกันและกันเป็นการสร้างมูลค่าให้มากขึ้น มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่อยู่ในพื้นที่ไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง การประหยัด สร้างความปลอดภยั ทางอาหารใหแ้ กผ่ บู้ รโิ ภค พรอ้ มฟนื้ ฟรู ะบบนเิ วศนใ์ หก้ ลบั มาสมดลุ จากการลดการใช้สารเคมีต่างๆ ซึ่งการจัดการภายในฟาร์มสามารถแบ่งแยกประเภท ดังนี้ 1) การดำเนินงานสาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้างภายในฟาร์ม ได้แก่ การจัดการด้านสาธารณูปโภคขั้น
พื้นฐานและพื้นที่อยู่อาศัย 2) การดำเนินงานด้านสร้างผลผลิตและการสร้างรายได้ในฟาร์ม ได้แก่ การปศุสัตว์ และการเกษตร มุ่ง
เน้นการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือน คือ เน้นการบริโภคในครัวเรือน หากเหลือก็จำหน่ายออกสู่ตลาด เพื่อการสร้างรายได้ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพโดยการสะสมพันธไ์ุ มช้ นิดตา่ งอีกดว้ ย นอกจากนั้นยังดำเนินงานกิจกรรมฟารม์ โดยแยกเปน็ ประเภทต่าง ๆ เพื่อง่ายต่อการจัดการและการพัฒนาอนาคต โดยยึดหลัก “การเดินทีละก้าว ลงทุนไม่มากแต่ยั่งยืน” มีหัวใจสำคัญอยู่ที่ การดำเนินงานการทำบัญชี และมีการดำเนินงานด้านกิจกรรมฟาร์มเพื่อสาธารณะประโยชน์ เน้นการพัฒนาแบบเป็นขั้นเป็นตอนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน คือ “พออยู่ พอกิน พอใช้ สร้างความร่มเย็นคืนกลับให้ระบบนิเวศ” นำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า โดยยังไม่เน้นการค้าขาย แต่เน้นการทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา แปรรูปไว้เป็นภูมิคุ้มกันตน สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงด้วยการ "ให้" จากนั้นจึงค่อยค้าขายเริ่มจากในชุมชน เพื่อสร้างฐานรากให้ยั่งยืนท้ายที่สุดบุญและทานจะนำมาซึ่งกัลยาณมิตรเป็นเครือข่ายในอนาคต คำสำคัญ : การผลิตชุดความรู้ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ABSTRACT
Research objectives are 1.) to study the concept and experience on how to conform sufficiency economy philosophy 2.) to study the production of knowledge collection from cultural wisdom for community: folkways and sufficiently from the application of knowledge with sufficiency economy philosophy. Population and sample were 7 owners of farm businesses engaged in agriculture using the new agricultural theories to pilot land development which integrated agriculture and the principles of sufficiency economy as a guideline for living. The data were analyzed by classifying significant issues according to the study purposes and production of knowledge collection from cultural wisdom for community with folkways and sufficiently from
the application of knowledge with sufficiency economy philosophy. The results of the study revealed the following. The farm management of Yayda-Tasime Farm is a model of sustainable agriculture. Agriculture is appropriate for the environment. Solving agricultural problems from “a new theoretical agricultural approach” (the name of a philosophy developed by and promoted on many occasions by King Bhumibol Adulyadej) example soil persecute program, Khok Nong Na Model and allocation of space in 30 : 30 : 30 : 10 . Within a farm, there are more than two activities at the same time, and the activities are mutually supportive which focus on the utilization of resources in the farm area for maximum benefit. It restore the ecosystem back to balance and reduce using of chemicals. Yayda Tasime farm set the plan implementation as follows
1) Operations of public utilities and buildings within the farm 2) Operations of productivity and farm income generation Using life following “Sufficiency” means moderation and consideration in all modes of conduct, as well as the need for sufficient protection from internal and external shocks. To achieve this, the application of knowledge with prudence is essential. In particular, great care is needed in the utilization of untested theories and methodologies for planning and implementation with accounting operations by creating network with "giving" to build a sustainable foundation in the future. Keywords : Production of knowledge collection , cultural wisdom , sufficiency economy philosophy

Downloads

Published

2018-05-31

How to Cite

ศิริสัมพันธ์ ร., & ฆารพันธ์ ร. (2018). การผลิตชุดความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสำหรับชุมชน : วิถีชีวิต วิถีพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง The Production of Knowledge Collection from Cultural Wisdom for Community: Folkways and Sufficiency from the Application of Knowledge with Sufficiency Eco. Chophayom Journal, 29(1), 453–462. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/126479

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์