รูปแบบการเสริมสร้างความสุขในการทํางาน ของนักสืบสวนสอบสวน ในการปราบปราม การทุจริต สํานักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม Work Happiness Enhancement Model of Anti-Corruption Investigator at Office of Public Sector Anti-Cor

Authors

  • เจนรบ พละเดช
  • ภักดี โพธิ์สิงห์
  • เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
  • สัญญา เคณาภูมิ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทํางาน ของนักสืบสวนสอบสวนในการปราบปรามการทุจริต สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทํางาน ของนักสืบสวนสอบสวนในการปราบปรามการทุจริต สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบและยืนยันรูปแบบการเสริมสร้างความสุขในการทํางานของนักสืบสวนสอบสวนในการปราบปรามการทุจริตสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสุขในการทํางานของนักสืบสวนสอบสวนในการปราบปรามการทุจริตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 3.46, SD = 0.71) และรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 3 ด้าน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทํางานของนักสืบสวนสอบสวนในการปราบปรามการทุจริต ได้แก่ ปัจจัยด้านความสําเร็จในการทํางาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทํางาน ด้านความรักในงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสุขในการทํางาน ได้ร้อยละ 79.80 (R2 เท่ากับ 0.798) อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 รูปแบบ และการยืนยันรูปแบบ เสริมสร้างความสุขในการทํางาน ของนักสืบสวนสอบสวนในการปราบปรามการทุจริต สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรมที่เหมาะสมจะต้องมีการเสริมสร้างความรักในงานโดยการสร้างความชํานาญ ในวิชาชีพ และควรแยกงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กับงานไต่สวนข้อเท็จจริงออกจากกันอย่างชัดเจน จะต้องมีการเสริมสร้างความสําเร็จในการทํางาน ซึ่งควรมีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรของสํานักงาน ป.ป.ท. และมีการอบรมบุคลากรอย่างสมํ่าเสมอ จะต้องมีการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในการทํางานโดยมีที่ตั้งสํานักงานเป็นของตนเองอย่างแท้จริง และเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการเบิกจ่ายงบประมาณ จะต้องมีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในสถานที่ทํางานโดยมีการจัดกิจกรรมสัญจรเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในหน่วยงานจะต้องมีการเสริมสร้าง ผู้นําองค์กรโดยผู้บริหารสูงสุดขององค์กรควรสร้างความใกล้ชิดกับบุคลากรในระดับปฏิบัติและมีการกระจายอํานาจในการบริหารงานอย่างเป็นธรรม และจะต้องมีการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในการทํางานโดยการจัดสรรค่าตอบแทนหรือเงินประจําตําแหน่งอย่างเท่าเทียม นําหลักคุณธรรมมาใช้ในการพิจารณาความดีความชอบ และการเลื่อนระดับ อันจะนําไปสู่การทํางานอย่างมีความสุข ซึ่งจะส่งผลให้การทํางานที่มีประสิทธิผลและทําให้การปฏิบัติงานในการปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ มีประสิทธิภาพต่อไป คําสําคัญ : ความสุขในการทํางาน, นักสืบสวนสอบสวน ABSTRACT The purpose of this research were (1) To study the work happiness levels of working of Anti-Corruption Investigator at Office of Public Sector Anti-Corruption Commission, Ministry of Justice. (2) To study the influence factors affecting work happiness of Anti-Corruption Investigator at Office of Public Sector Anti-Corruption Commission, Ministry of Justice. (3) To created a model to enhance the happiness of working of Anti-Corruption Investigator at Office of Public Sector Anti-Corruption Commission, Ministry of Justice. The work happiness level of working were as followed, the overall were medium level mean score (gif.latex?\bar{x}= 3.46,SD = 0.71) and the medium level had 3 items.There were 4 factors affected to the work happiness there were ; success at work, environment at work, the love of work and relationships in the work. At 0.5 significant level, R2 = 0.798. A model and confirmed model to enhance the happiness of working consist of appropriated 6 factors there were ; the love of work , success at work , environment at work, relationships in the workplace, leadership and quality of life at work. Therefore, The Office of Public Sector Anti-Corruption Commission, Ministry of Justice should bring these factors together to make a policy for increase efficiency. And effectiveness of work. Including improvements to enhance the happiness of working. As a result, the operation in the Anti-Corruption Investigator at Office of Public Sector Anti-Corruption Commission, Ministry of Justice, effective next. Keywords : Happiness in work, Investigators  

Downloads

Published

2018-05-31

How to Cite

พละเดช เ., โพธิ์สิงห์ ภ., โกศลกิตติอัมพร เ., & เคณาภูมิ ส. (2018). รูปแบบการเสริมสร้างความสุขในการทํางาน ของนักสืบสวนสอบสวน ในการปราบปราม การทุจริต สํานักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม Work Happiness Enhancement Model of Anti-Corruption Investigator at Office of Public Sector Anti-Cor. Chophayom Journal, 29(1), 15–26. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/126432

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์