บุญกุ้มข้าวใหญ่ : ความสัมพันธ์ของความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม ต่อความมั่นคงทางสังคม และเศรษฐกิจชุมชนอีสาน Boon Goom Khaw Yai: The Relationship of Beliefs, Tradition and Rituals to Social Security and the Isan Community Economy

Authors

  • ทรงคุณ จันทจร
  • สิบปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน
  • ชมนาถ แปลงมาลย์

Keywords:

:สมุนไพร กาฬสินธุ์ ตำบลสงเปลือย ตำบลนามน

Abstract

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นมาและความเชื่อ ประaเพณี พิธีกรรมของบุญกุ้มข้าวใหญ่อีสานและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของบุญกุ้มข้าวใหญ่ ต่อความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจชุมชนอีสานผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและทำการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์ การสังเกตการสนทนากลุ่ม การบันทึกข้อมูล และการนำข้อมูลที่ได้มาพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ความเป็นมาของประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ มีมานานตั้งแต่สมัยโบราณเกิดจากการที่ประชาชนมีความประสงค์ที่จะทำบุญเพื่อเป็นการขอขมาเจ้าแม่โพสพและขอขมาต่อข้าว ที่ชาวนาอาจเหยียบยํ่าข้าวจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งเชื่อว่าหากได้ทำบุญในประเพณีนี้แล้วจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข มีผลผลิตจากการทำนาที่ประสบความสำเร็จ การเกษตรมีความอุดมสมบูรณ์ในการประกอบพิธีกรรมจะกระทำในเดือนเดือนยี่ หรือเดือนสอง (ประมาณเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์) สำหรับอุปกรณ์ประกอบด้วยของที่มีในท้องถิ่น เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน ไข่ ยาสูบ เป็นต้น ในด้านของความมั่นคงทางสังคมงานบุญนี้ทำให้เกิดความร่วมมือของประชาชนในชุมชน โดยมีผู้นำเป็นหน่วยราชการ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางด้านศาสนาเป็นผู้พาทำพิธี ทำให้เกิดความมั่นคงทางสังคมมีความสามัคคีเป็นปึกแผ่น ในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนประเพณีนี้ทำให้เกิดกระแสการไหลเวียนของเศรษฐกิจที่มีข้าวเปลือกเป็นตัวขับเคลื่อน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการแบ่งปันข้าวให้กับผู้ด้อยโอกาส ข้าวที่ถูกจำหน่ายสามารถนำเงินมาทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและในการจัดงานประชาชนสามารถนำสินค้าทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนมาสร้างรายได้ให้กับครอบครัว คำสำคัญ : ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม

ABSTRACT
The research objective is to study the historical and beliefs traditional and rituals of Boon Goom Khaw Yai, Isan, and to study the relationship of Boon Goom Khaw Yai. The collected data is from document data and interview, observation, focus group discussion and descriptive analysis. The research found that Boon Goom Khaw Yai has a long history since ancient times caused by people wanting to make merit to the rice goddess called “Mae Phosop” and apologize for rice that farmers may tread rice from harvest. It is believed that if someone make merit in this rice tradition, it will be peaceful, yield of successful farming and agriculture is
abundant. The ritual is performed in the month called second to third (approximately January to February). The equipment consists of wonderful things such as flowers, incense, candles, eggs, tobacco, etc. In the field of social security, this merit causes the community to cooperate by the government leader, the community leader and the Buddhism leader .In case of social stability is ensured on the economic security of the community. The community economic is driven by paddy. It also contributes to rice sharing for the underprivileged. The rice that was sold can be used to preserve Buddhism and to organize it. People can bring products as a community product to generate income for the family. Keywords : Beliefs, Tradition, Rituals

Downloads

Published

2018-05-31

How to Cite

จันทจร ท., จันทร์ดอน ส. ช., & แปลงมาลย์ ช. (2018). บุญกุ้มข้าวใหญ่ : ความสัมพันธ์ของความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม ต่อความมั่นคงทางสังคม และเศรษฐกิจชุมชนอีสาน Boon Goom Khaw Yai: The Relationship of Beliefs, Tradition and Rituals to Social Security and the Isan Community Economy. Chophayom Journal, 29(1), 421–430. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/126476

Issue

Section

บทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์