การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

อรอนงค์ อุ่นแก้ว
ภัฐธีร์ตา วัฒนประดิษฐ์
สมพงษ์ ปั้นหุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ 2) เพื่อหาคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหา (Content validity) ความยาก (Difficulty) อำนาจจำแนก (Discrimination) ความตรงตามสภาพ (Concurrent validity) ความเที่ยง (Reliability)  3) เพื่อหาเกณฑ์การวินิจฉัยและสร้างคู่มือการใช้แบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 643 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวินิจฉัยความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 5 ฉบับ ฉบับละ 20 ข้อ รวม 100 ข้อ ผลการวิจัยปรากฏว่า  แบบทดสอบวินิจฉัยทั้ง 5 ฉบับ ได้แก่  ฉบับที่ 1 ความเข้าใจในเนื้อหา 20 ข้อ ฉบับที่ 2 การเชื่อมโยงองค์ความรู้ 20 ข้อ ฉบับที่ 3 การสะท้อนกลับของคำตอบ 20 ข้อ ฉบับที่ 4 การตีความ 20 ข้อ และฉบับที่ 5 การวิเคราะห์ประเมินค่าเนื้อหา 20 ข้อ ค่าความตรงตามเนื้อหามีค่า IOC ตั้งแต่ .80 – 1.00 มีค่าความยากตั้งแต่ .41 – .76 ค่าอำนาจจำแนกใช้สูตรของ Brennan มีค่าตั้งแต่ .51 – .78 ค่าความตรงตามสภาพใช้สูตรสหสัมพันธ์ของ Spearman มีค่าตั้งแต่ .72 – .87 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนค่าความเที่ยงใช้สูตรของ Livingston มีค่าตั้งแต่ .92 – .93 สำหรับคะแนนจุดตัด หาโดยวิธีของ Angoff แต่ละฉบับ เท่ากับ 12 คะแนน จากคะแนนเต็ม ฉบับละ 20 คะแนน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

จริญญา กะหละหมัด. (2549). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นฤมล อุดรประจักษ์. (2555). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบสมการเชิงเส้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมานี กลิ่นพูน. (2555). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยในการสร้างวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). การพัฒนาศักยภาพการประเมินผลในชั้นเรียนเพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องของผู้เรียน. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

Brennan, P. A., Mednick, B. R., & Mednick, S. A. (1974). Parental psychopathology, congenital factors, and violence. In S. Hodgins (Ed.), Mental disorder and crime 244-261. Thousand Oaks, CA: Sage.

Brown, F. G. (1970). Principles of educational and psychological testing. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Ebel, Robert L. (1965). Measuring educational achievement. New Jersey: Prentice-Hall.

Primary National Strategy. (2005). Understanding reading comprehension: 1. Primary head teachers, literacy coordinators, Key Stage 1 and 2 teachers Status: Recommended Date of issue: 03-2005 Ref: DfES 1310-2005 Department for Education and Skill. Sure start.