เกี่ยวกับวารสาร

1. เกี่ยวกับวารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา

1.1 วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์

เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพของนิสิต นักศึกษาและคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเน้นด้านการบริหารการศึกษา ที่ครอบคลุมการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยทุกระดับ และทุกประเภทการศึกษา เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา 

2. นโยบายด้านบรรณาธิการ

2.1 นโยบายการพิจรณาบทความ

 บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความอย่างน้อย 2 ท่าน โดยบรรณาธิการจะพิจารณาเบื้องต้นก่อนการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

2.2 การประพันธ์

ชื่อผู้สนับสนุนสำคัญของผลงานทุกคนควรได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นิพนธ์ โดยผู้นิพนธ์หลักและลำดับของผู้นิพนธ์ควรพิจารณาจาความมากน้อยในการสนับสนุนผลงานโดยมิต้องคำนึงถึงสถานะของผู้นิพนธ์ นิสิตนักศึกษาที่ร่วมนิพนธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาผลงาน ส่วนใหญ่ผู้นิพนธ์หลักให้เป็นนิสิตผู้สร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์จบการศึกษา

2.3 กิตติกรรมประกาศ

ชื่อผู้ที่มีส่วนสนับสนุนในการสร้างสรรค์ผลงานแต่มิได้เป็นผู้สนับสนุนหลักควรได้รับการยกย่องในกิตติกรรมประกาศ อาทิเช่น  ผู้สนับสนุนทุนผลงาน แหล่งทุน ผู้ช่วยทางเทคนิค และผู้ที่ให้ความช่วยเหลือทั่วไป

3. จริยธรรมการตีพิมพ์

วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษาตระหนักและให้ความสำคัญต่อประเด็นจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความวิจัยเป็นอย่างมาก จริยธรรมของบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินได้ยึดตามหลักของ The Committee on Publication Ethics (COPE)” (https://publicationethics.org/) ร่างบทความใดที่ไม่เป็นไปตามหลักจริยธรรมอาจถูกปฏิเสธการพิจารณาหรือถูกขอให้อธิบายและแก้ไขเพิ่ม บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความอย่างน้อย 2 ท่าน โดยมิได้เปิดเผยชื่อและข้อมูลส่วนตัวของผู้นิพนธ์ต่อผู้ประเมิน

3.1 จริยธรรมของบรรณาธิการ

บรรณาธิการวารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษาถือสิทธิในการตัดสินขั้นสุดท้ายในการเลือกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ โดยถือคำแนะนำและติชมของผู้ประเมินเป็นหลักในการพิจารณา กองบรรณาธิการวารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษาประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากหลากหลายสถาบันและแหละหลายประเด็นวิจัยซึ่งครอบคลุมจุดประสงค์และกรอบของวารสาร โดยกองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำในเชิงวิชาการและคัดเลือกผู้ประเมิน บางครั้งสมาชิกของกองบรรณาธิการจะทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินตามแต่ความถนัดและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ถึงแม้การตัดสินใจสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับบรรณาธิการ บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษาควรยึดหลักตามนี้

  • บรรณาธิการต้องตระหนักถึงหลักจริยธรรมในการพิจารณาบทความอยู่เสมอ
  • บรรณาธิการต้องรับรองคุณภาพของวารสารและตรวจสอบว่าผลงานที่ส่งมาไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ก่อนส่งมาที่วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา
  • บรรณาธิการต้องรับประกันที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้นิพนธ์ต่อผู้ประเมิน และผู้ประเมินต่อผู้นิพนธ์
  • บรรณาธิการต้องรับรองความสอดคล้องของผลงานที่ตีพิมพ์ต่อจุดประสงค์และขอบเขตของวารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา
  • บรรณาธิการไม่ควรปฏิเสธผลงานโดยทันทีเพียงเพราะความไม่มั่นใจบางประการ บรรณาธิการควรตรวจสอบและหาหลักฐานประกอบการตัดสินใจและแจ้งสาเหตุต่อผู้นิพนธ์
  • บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ่อนหรือผลประโยชน์ร่วมกับผู้นิพนธ์
  • บรรณาธิการต้องพิจารณาเลือกผู้ประเมินที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับผลงานที่ส่งและเป็นกลางต่อผลงาน
  • บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลงานก่อนได้รับการตีพิมพ์
  • ข้อมูลและข้อติชมจากผู้ประเมินควรได้รับความคุ้มครองและไม่ถูกใช้เพื่อเป็นผลประโยชน์ส่วนบุคคล
  • บรรณาธิการต้องตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผลงานที่ส่งโดยใช้วิธีการที่มีความน่าเชื่อถือ ในกรณีที่พบว่ามีการคัดลอก บรรณาธิการมีสิทธิที่จะหยุดการพิจารณาผลงานโดยมิต้องได้รับการยินยอมจากผู้นิพนธ์

3.2 จริยธรรมของผู้นิพนธ์

ชื่อผู้สนับสนุนสำคัญของผลงานทุกคนควรได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นิพนธ์ โดยผู้นิพนธ์หลักและลำดับของผู้นิพนธ์ควรพิจารณาจาความมากน้อยในการสนับสนุนผลงานโดยมิต้องคำนึงถึงสถานะของผู้นิพนธ์ ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นิพนธ์ผลงานควรเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างผลงาน เช่น ร่วมสร้างแนวคิดผลงาน การออกแบบเครื่องมือ การตีความและสรุปข้อมูล และการเขียนผลงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมจริยธรรมแบะหน้าที่ของผู้นิพนธ์ตามหลักสากล วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษาได้ตระหนักถึงหลักของ Committee on Publication Ethics International Standards for Authors ทั้งส่งเสริมให้ผู้ส่งผลงามยึดถือหลักดังกล่าวเป็นสำคัญ ทั้งวารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษาได้ยึดถือหลักจริยธรรมของผู้นิพนธ์ดังนี้

  • ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
  • ผู้นิพนธ์สามารถส่งผลงานไปยังวารสารอื่นหลังจากวารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษาได้แจ้งการปฏิเสธผลงานแล้ว
  • เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร
  • ผู้นิพนธ์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดความผิดพลาดอันเกิดมาจากผลงานตนพร้อมรับประกันการไม่คัดลองผลงาน และต้องอธิบายต่อข้อสงสัย
  • ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  • ผู้นิพนธ์จะต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
  • ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา
  • ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
  • ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  • ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
  • ผู้นิพนธ์ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิง หรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
  • ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ และ/หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความ และแจ้งให้บรรณาธิการทราบ

3.3 จริยธรรมของผู้ประเมิน

ผู้ประเมินรับผิดชอบในกระบวนการประเมินผลงาน ข้อติชมและข้อเสนอแนะควรสนับสนุนให้ผู้นิพนธ์ได้พัฒนาคุณภาพผลงาน ทั้งยังรับประกันประโยชน์และความเหมาะสมที่มีต่อวงการวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ด้านการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา ผู้ประเมินมีสิทธิอันชอบธรรมในการให้คำแนะนำและติชมผมงาน เพื่อเป็นการรับประกันการประเมินผลงานที่เป็นไปตามหลักจริยธรรม ผู้ประเมินควรตระหนักและปฏิบัติตามหลักการดังนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธการประเมินผลงานหากผลงานที่ประเมินนั้นไม่ตรงกับความถนัดและประสบการณ์
  • ผู้ประเมินควรให้คำแนะนำและข้อติชมบนพื้นฐานของความถนัดและความรู้ความสามารถของตน โดยมีหลักฐานและข้อมูลสนับสนุน ปราศจากซึ่งอคติ
  • ผู้ประเมินต้องปกปิดข้อมูลและผลการศึกษาของผลงานก่อนการตีพิมพ์ และไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น
  • ผู้ประเมินควรแจ้งต่อบรรณาธิการหากพบการคัดลอกผลงานในผลงานที่ตนประเมิน
  • ผู้ประเมินต้องแจ้งต่อบรรณาธิการหากพบผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นก่อน/ระหว่าง/หลังจากประเมินผลงาน และผู้ประเมินควรปฏิเสธการประเมินผลงานนั้น

4. กำหนดออก

วารสารตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี
ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน
ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม
ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม

5. อื่นๆ

5.1 ภาษาที่รับตีพิมพ์

        ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ

5.2 หน่วยงานสนับสนุน