แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • กมลพร อ่วมเพ็ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชญาพิมพ์ อุสาโห คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาครู, การเรียนรู้จากการปฏิบัติ, การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, คุณภาพผู้เรียน, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาครู ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 178 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลมีจำนวนทั้งสิ้น 123 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 102 คน และครูจำนวน 249 คน รวมทั้งสิ้น 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ชุด คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุดตามลำดับ (สภาพปัจจุบัน = 4.015, SD = 0.749 สภาพที่พึงประสงค์ = 4.602, SD = 0.583) 2) ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูที่สูงสุดคือ การประเมินผลการพัฒนาครู (PNImodified = 0.146) 3) แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 แนวทางดังนี้ 1) พัฒนาครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาของผู้เรียน 2) พัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูในกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติโดยเน้นการสะท้อนคิดเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 3) พัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยเน้นการจัดประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียนเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 4) ปรับปรุงการประเมินผลการพัฒนาครูโดยเน้นการประเมินผล 3 ลักษณะ 5) ปรับปรุงการนำแผนพัฒนาครูไปปฏิบัติโดยเน้นการพัฒนาครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในด้านการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานเป็นกลุ่มอย่างหลากหลายร่วมมือรวมพลังเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). การบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กที่จำเป็นต้องดำรงอยู่อย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
โฆษิต จตุรัสวัฒนากูล. (2543). ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคการสอนเป็นกลุ่ม ที่ช่วยเหลือเป็นรายบุคคลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีระดับความสามารถต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
จอมพงศ์ มงคลวานิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสิทธิ์ ชุมศรี. (2555). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรด้วยการเรียนร้จู ากการปฏิบัติเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
ปานทิพย์ เตรนฤประภา. (2550). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ช่วงชั้นที่ 1-2 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2550). ทักษะ 5C เพื่อการจัดการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
ภูวษา รักษาภักดี. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10, 28-40.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. (2559). รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก. (อัดสำเนา)
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). รายงานประจำปี 2554 (1 ตุลาคม 2533-30 กันยายน 2554). กรุงเทพมหานคร: แปลน พริ้นท์ติ้ง.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.
สีมาลา ลียงวา. (2557). แนวทางการพัฒนาครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาในนครหลวงเวียงจันทน์แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สุรดา ไชยสงคราม. (2555). กลยุทธ์การบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
Aubusson, P. (2009). Action Learning in schools: Reframing teachers’ professional learning and development. Oxon: Routledge.
Delahaye, B. L. (2000). Human Resource Development: Theory to Practice. Milton: John Wiley & Sons Australia, Ltd.
John, L. (2014). Professionally Developing as a Teacher Educator. Journal of Teacher Education, 65, 271-288.
Marquardt, M. J. (2004). Optimizing the Power of Action Learning: Solving Problems and Building Leader in the Real time. London: David–Black Publishing.
Marquardt, M. J., Leonard, H. S., Freedman, A. M., & Hill, C. C. (2009). Action Learning for Developing Leaders and Organizations: Principles, strategies and Cases. Washington: American Psychological Association.

Translated Thai References (ส่วนที่แปลรายการอ้างอิงภาษาไทย)
Chaiyasongkram, S. (2012). Management strategies for developing desirable characteristics of elementary school students in schools under the Office of the Basic Education Commission. (Doctoral’s thesis, Education Administration Department of Management Policy and educational leadership Faculty of Education, Chulalongkorn University). [In Thai]
Chaturaswattanakul, K. (2000). The results of cooperative learning using group teaching techniques that help each other on learning achievement and the ability to link learning in mathematics of Prathomsuksa 5 students with different skill levels. (Master's degree, Educational Psychology Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University). [In Thai]
Chumsri, P. (2012). Personnel development model by learning from practice for quality assurance within educational institutions of the Office of Surat Thani Primary Education Area district 2. Surat Thani Primary Educational Service Area Office 2 Office of the Basic Education Commission Ministry of Education. [In Thai]
Council for the reform of national education reform. (2016). Report of the National Reform Council for Education on Management of Small School Education. [Mimeographed] [In Thai]
Dechakup, P., & Kangkan, P. (2008). Teacher competencies and guidelines for teacher development in a changing society. Bangkok: Plikwangraphic printing. [In Thai]
Dechakup, P., & Yindeesuk, P. (2007). 5C skills for integrated learning and teaching management. 4th edition, Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [In Thai]
Jesadawiroj, S. (2003). Integrated teaching and learning management. Bangkok: Bookpoint printing. [In Thai]
Leeyongwa, S. (2014). Teacher development guidelines for secondary schools in the Vientiane capital city of the Lao People's Democratic Republic (Lao PDR). (Master's thesis, Educational Administration Department of Management Policy And educational leadership, Faculty of Education, Chulalongkorn University). [In Thai]
Mongkolwanich, C. (2012). Organization and educational personnel management. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]
Office of Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (2012). Annual Report 2011 (October 1, 1990-September 30, 2011). Bangkok: Plan Printing. [In Thai]
Policy Research and Development Group Office of Basic Education Policy and Planning Office of the Education Commission Basic, Ministry of Education. (2014). Management of small schools that need to live in quality. Bangkok: Agriculture Cooperatives of Thailand Printing. [In Thai]
Raksapakdee, P. (2015). Study of factors affecting parents' decision to send their children to extra large-sized secondary schools Secondary Educational Service Area Office 2. Educational Electronic Journal, 10, 28-40. [In Thai]
Rangubtook, W. (2002). Techniques and activities that focus on learners are important according to the basic education curriculum BE 2544. Bangkok: Plikwangraphic printing. [In Thai]
Trenarueprapa, P. (2007). The study of the problems of integrated teaching and learning management in the 1-2th level of teachers in schools under the Office of Chonburi Educational Service Area 1, Mueang District, Chonburi Province. (Master's thesis, Burapha University). [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27