แนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ ตามแนวคิดพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย; APPROACHES OF ACADEMIC MANAGEMENT OF SILACHARNPHIPHAT SCHOOL BASED ON THE CONCEPT OF DEMOCRATIC CITIZEN

ผู้แต่ง

  • จริยา บัวสำเริง ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชญาพิมพ์ อุสาโห คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการ, แนวคิดพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, แนวทางการบริหารวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ตามแนวคิดพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 2) นำเสนอแนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ตามแนวคิดพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากรณีโรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNImodified) และฐานนิยม (Mode) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการของโรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ตามแนวคิดพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.61, SD = 0.74) และมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.71, SD = 0.50) ตามลำดับ โดยด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ รองลงมาคือ การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ 2) แนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ตามแนวคิดพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งสิ้น 9 แนวทาง คือ การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้มี 2 แนวทาง การวัดและประเมินผลมี 2 แนวทาง การจัดการเรียนการสอนมี 3 แนวทาง และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2 แนวทาง

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

ฆนัท ธาตุทอง. (2552). การจัดการชั้นเรียนห้องเรียนแห่งความสุข. กรุงเทพมหานคร : เพชรเกษมการพิมพ์.
จารุกิตติ์ สิทธิยานนท์. (2559). แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากลตามแนวคิดพลเมืองโลกศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
เฉลิมชัย พันธ์เลิศ, อรรถพล อนันตวรสกุล, วัฒนา อัคคพานิช และ ทัศนวรรณ บรรจง. (2556). กรอบแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย. กรุงเทพมหานคร : เทคนิค อิมเมจ.
ถวิลวดี บุรีกุล, เออเจนี เมรอโอ และ รัชวดี แสงมหะหมัด. (2557). การสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันประปกเกล้า.
มนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์. (2560). พลเมืองประชาธิปไตยของออสเตรเลีย, ใน พจนา อาภานุรักษ์ (บรรณาธิการ), เมื่อครูไทยเรียนรู้การสอนประชาธิปไตยในออสเตรเลีย. (น. 59-68). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ต.
โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ งานนโยบายและแผนงาน. (2560). แผนปฏิบัติการโรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ ประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์.
โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. (2560). รายงานประจำปีของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2559. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์.
วันชัย ตันศิริ. (2557). ศาสตร์การสอนความเป็นนักประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันนโยบายศึกษา สถาบันนโยบายการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิก.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนสังเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ. รายงานสถานการณ์วัยรุ่นและเยาวชนในประเทศไทย. [เว็บบล็อก] สืบค้นจาก https://www.unicef.or.th
Lin, A. (2015). Citizenship education in American schools and its role in developing civic engagement: a review of the research [Electronic version]. Educational Review, 67(1), 35-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย