การศึกษาดัชนีชี้วัดที่แสดงสถานภาพความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย : ในมุมมองของผู้ผลิตไฟฟ้า

Main Article Content

มลนิรา ธรรมเสรีกุล
วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาดัชนีชี้วัดที่แสดงสถานภาพความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2556 จำนวน 16 ดัชนีชี้วัด ใน 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านความพร้อมใช้งานของทรัพยากร (Availability) มิติด้านราคา (Affordability) มิติด้านการยอมรับ (Acceptability) และมิติด้านเทคโนโลยีและประสิทธิภาพ (Applicability) โดยการกำหนดน้ำหนักความสำคัญของมิติ และดัชนีชี้วัดต่างกัน พร้อมทั้ง เปรียบเทียบความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าภายใต้ภาพอนาคตต่างๆ จากการศึกษาความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2556 พบว่า มิติด้านการยอมรับ (Acceptability) เป็นมิติที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความสามารถในการลดการปล่อยมลสารของโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มิติด้านราคา (Affordability) เป็นมิติที่มีคะแนนลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก ดัชนีราคาต้นทุนของเชื้อเพลิง โดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติ สำหรับมิติด้านความพร้อมใช้งานของทรัพยากร (Availability) พบว่า มีคะแนนเพิ่มขึ้น เมื่อมีการเพิ่มการกระจายสัดส่วนของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า และมิติด้านเทคโนโลยีและประสิทธิภาพ (Applicability) เป็นมิติที่มีคะแนนค่อนข้างคงที่ เนื่องจากดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีคะแนนต่ำ ส่งผลให้มิติดังกล่าวมีคะแนนต่ำเช่นกัน สำหรับผลการศึกษาภาพอนาคตจำนวน 2 ภาพ ได้แก่ ภาพอนาคตกรณีอ้างอิง (Reference Scenario) และภาพอนาคตทางเลือก (Alternative Scenario) พบว่า ภายใต้ภาพอนาคตทางเลือก ซึ่งกำหนดให้มีการกระจายสัดส่วนของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยเพิ่มสัดส่วนของถ่านหินนำเข้าเป็น 32.4% และพลังงานหมุนเวียนเป็น 33.5% ส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าในทุกดัชนีชี้วัดที่ทำการศึกษา ยกเว้นอัตราการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานสุทธิต่อการจัดหาพลังงานทั้งหมด

 

A Study on Energy Security Indicators for Thailand Power Sector : Utility Aspect

Molnira Thamsereekul1 and Weerin Wangiraniran2

1Energy Technology and Management, Graduate School-Interdisciplinary Program, Chulalongkorn University

2Energy Research Institute, Chulalongkorn University

The Purpose of this study is to study energy security indicators for Thailand power sector using sixteen indicators during the period 2009-2013. It constructs a 4-As dimension framework – the availability of energy resources, the affordability of energy price, the acceptability of social and the applicability of supply side and demand side. Moreover, to present the importance of each dimensions and indicators, they are integrated with unequal weight. During the period 2009-2013, it found that the acceptability showed the highest score of energy security in power sector because of the decreasing of the emissions of power plants such as CO2, SO2 and NOx, while the affordability showed the lowest score due to fuel cost and renewable energy cost. For the availability, the result showed that the diversification effect to the higher score of availability. Moreover, the dimension which showed stable is applicability, because of the balance of supply side and demand side scores. Two differences in scenario over this study found that alternative scenario is the best scenario which showed highest energy security.

Article Details

Section
บทความวิจัย