การศึกษาเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจและทัศนคติด้านพลังงาน (Energy literacy) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา: กรณีศึกษา 3 อำเภอในจังหวัดลพบุรี

Main Article Content

จุลพงษ์ อุดมพรพิบูล
โสภิตสุดา ทองโสภิต

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจและทัศนคติด้านพลังงาน (Energy Literacy) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ผ่านกรณีศึกษา 3 อำเภอในจังหวัดลพบุรี ได้แก่ โรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัยและโรงเรียนพระนารายณ์ในอำเภอเมืองลพบุรี โรงเรียนโคกสำโรงวิทยาและโรงเรียนบ้านวังเพลิงในอำเภอโคกสำโรง และโรงเรียนสัตยาไสในอำเภอชัยบาดาล โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 352 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม Microsoft Excel 2010 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของความรู้ความเข้าใจด้านพลังงาน ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้ถึงพฤติกรรมการใช้ระหว่างกลุ่มตัวอย่างของโรงเรียนในพื้นที่ใกล้แหล่งผลิตไฟฟ้ากับกลุ่มตัวอย่างของโรงเรียนในพื้นที่อื่น ๆ ส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยพื้นที่ใกล้แหล่งผลิตไฟฟ้าจะมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าพื้นที่อื่นๆ

ผลวิจัยนี้ทำให้สรุปได้ว่า พื้นที่ใกล้แหล่งผลิตไฟฟ้าไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ แต่ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ความเจริญก้าวหน้าทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี เช่น อายุ รายได้ของครอบครัว อาชีพของคนในครอบครัว รวมถึงหลักสูตรพิเศษทางด้านพลังงานที่ทำให้นักเรียนบางกลุ่มสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้มากกว่าและดีกว่า การศึกษานี้จึงให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มุ่งเน้นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานของนักเรียนให้มากขึ้นในพื้นที่ใกล้แหล่งพลังงานและการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีระดับความรู้ความเข้าใจและทัศนคติด้านพลังงาน (Energy Literacy) ที่มากขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการใช้ที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น

 

A Comparative Study of Energy Literacy of Secondary- School Students: Case studies of 3 Amphoe in Lopburi Province

Junlapong Udompornpibul1 and Sopitsuda Tongsopit2

1Energy Technology and Management Program, Chulalongkorn University

2Energy Research Institute, Chulalongkorn University

The purpose of this research is to compare the level of energy literacy of secondary-school students through case studies of 3 Amphoe in Lopburi Province. The schools include Pranarai School and Khok Kathiam Witthayalai School in Amphoe Muang Lopburi, Khoksamrong Witthaya School and Ban Wang Ploeng School in Amphoe Khoksamrong, Sathya Sai School in Amphoe Chai Badan. We developed a questionnaire to collect data from a sample group of 352 students and conducted statistical analysis using Microsoft Excel 2010.

The research results showed that the average scores of energy literacy, which measured the level of knowledge, attitude, and perception of behavior, were statistically different between the schools. The scores from the school located near a power plant were on average lower than other schools at a significance level of 0.05. This finding suggests that vicinity to a power plant was not a factor that increased students’ energy literacy; instead key factors included socio-economic factors, such as age, family income, and parents’ occupations, and a special syllabus designed to enhance energy literacy. These factors enabled some groups of students to have more and better access to various knowledge sources especially information about energy. Therefore we propose policy recommendations focusing on enhancing opportunities to access knowledge on energy and the improvement of the learning process to improve energy literacy, which could lead to the increase in energy conservation behaviors.

Article Details

Section
บทความวิจัย