The Problems and the Adaptation of OTOP to AEC

Main Article Content

ธันยมัย เจียรกุล

Abstract

The integration of the ASEAN Economic Community (AEC) will affect the adaptation of OTOP. OneTambon One Product (OTOP) is a business that generates a lot of revenue for the country. The issues of the problem of all groups of OTOP are management, marketing, production, financial management and capital resources, technology, business networks creation, and government support.

The guidelines for the preparation of OTOP entrepreneurs to the aggregation of the AEC by the ASEAN SMEs require sincerely cooperation of both public and private sectors. The development should start by creating inspiration and commitment of the entrepreneurs themselves including a focus on building the network to exchange and share information among them. With regard to the management factor, OTOP requires the skill development including language skills and knowledge of various aspects of ASEAN. As for the marketing factor, they should create innovative products that create value for consumers, develop a modern packaging, develop certified products and find niche target markets and marketing channels to cover the target in the lowest cost. Regarding the production factor, they should access the technology to reduce cost in the production process. As for the financial and capital resources factor, OTOP should try to use a correct financial and accounting system and get more knowledge about costs and breakeven point. About the technology factor, they should use the technology in the working system including information systems. In terms of the business networks creation factor, entrepreneurs should find partners both in terms of production and distribution. As for the last factor, the government should provide support for modern information and knowledge related to AEC and the low-costs capital sources to strengthen competition both in domestic and foreign countries.


ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC 

การรวมตัวกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น มีผลกระทบต่อการปรับตัวของกลุ่มผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยจำนวนมาก โดยที่ปัญหาของ OTOP โดยรวมของทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์นั้น เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการเงิน และแหล่งเงินทุน ด้านเทคโนโลยี และด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ

ดังนั้น แนวทางในการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ OTOP สู่การรวมตัวของ AEC ตามกรอบ ASEAN SMEs นั้น ต้องเกิดจากความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีความจริงใจในการร่วมมือกันอย่างบูรณาการ เพื่อช่วยพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยควรเริ่มพัฒนาจากการสร้างแรงบันดาลใจ และความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้ประกอบการเอง รวมทั้งเน้นด้านการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ในด้านการบริหารจัดการ ต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมถึงทักษะด้านภาษารวมทั้งให้ความรู้ด้านต่างๆ ของอาเซียน ส่วนด้านการตลาด ควรสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภค พัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน พร้อมทั้งหากลุ่มตลาดเป้าหมายและช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้าให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในต้นทุนที่ต่ำที่สุด สำหรับด้านการผลิตควรให้มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต หาแหล่งวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำ ด้านการเงินและแหล่งเงินทุน ควรมีการใช้ระบบการเงินและบัญชีที่ถูกต้อง มีความรู้เรื่องต้นทุนและจุดคุ้มทุน สนับสนุนเรื่องแหล่งทุนต้นทุนต่ำ ด้านเทคโนโลยีควรมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ใน ระบบการทำงาน รวมถึงระบบสารสนเทศ และด้านการสร้างเครือข่ายธุรกิจ ผู้ประกอบการควรหาพันธมิตรธุรกิจทั้งในด้านการผลิตและการจัดจำหน่าย และสำหรับภาครัฐ ควรให้การสนับสนุนในเรื่องข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับ AEC อบรมให้ความรู้และประสานแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป

Article Details

How to Cite
เจียรกุล ธ. (2014). The Problems and the Adaptation of OTOP to AEC. Executive Journal, 34(1), 177–191. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/81168
Section
Academic Articles