Generation Management in Organizations of the Marketing 3.0 Era

Main Article Content

Wichet Khambunrat

Abstract

Development of society in the marketing era has differences in each period. In the era of Marketing 3.0, the new wave of technology, consumers demand for goods and services which meet their specific need and also create benefits for humanity and society. As a result, organizations in the era of marketing 3.0 need to drive with its mission, vision and values focused on approaching to individual consumers and contributing to society. Being the marketing 3.0 organization helps it gain a competitive advantage due to the fact that it is prefered by the consumers. Organizations, consequently, have competitive advantages over other organizations in attracting people of all generations, retaining those with high potential to stay with the company, and allowing employees with all ages to achieve their higher performances. In addition, the trend of human resource management in the next decade demonstrates that executives up to 71% agreed that the key to sustainable growth is “human capital” to develop and drive the organization. Mostly, organizations have diverse staffs of up to 3 generations in the workplace. Hence, organizations need policies to manage a diverse range of ages in organizations for the ultimate benefi t. These policies include organization culture, staff development, establishing a performance system that encourage cooperation and teamwork, and developing a strategy to build employee engagement and communication channels. As organizations have a great number of “generation y” workers, executives need to conduct business with ethics and social responsibility aligning with the marketing 3.0 organization’s practices, as well as adjusting organization to increase work commitment among this generation of employees.


การบริหารความหลากหลายช่วงอายุในองค์การแห่งยุคการตลาด 3.0

พัฒนาการของสังคมในการตลาดแต่ละยุคมีความแตกต่างกัน ยุคการตลาด 3.0 เป็นยุคเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่ที่ผู้บริโภคต้องการสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะตัวของผู้บริโภค และต้องรังสรรค์ประโยชน์เพื่อมนุษยชาติและสังคมทำให้องค์การยุคการตลาด 3.0 จำเป็นต้องขับเคลื่อนองค์การด้วยพันธกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมองค์การที่ดี เน้นการเข้าถึงผู้บริโภคเฉพาะตัวและสร้างประโยชน์ให้สังคม การเป็นองค์การยุคการตลาด 3.0 ดังกล่าวทำให้เป็นองค์การที่ผู้บริโภคแสวงหาจึงเกิดความได้เปรียบในการดึงดูดคนเก่งทุกช่วงอายุเข้ามาร่วมงาน สามารถรักษาบุคลากรทุกช่วงอายุที่มีความสามารถสูงให้อยู่กับบริษัท และทำให้บุคลากรทุกช่วงอายุพร้อมจะทำงานให้ได้ผลงานที่สูงกว่า ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันมากกว่าองค์การอื่น อีกทั้งแนวโน้มการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษหน้าพบว่า ผู้บริหารถึงร้อยละ 71 เห็นว่าปัจจัยหลักที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนก็คือ ทุนมนุษย์ที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนองค์การ โดยองค์การส่วนใหญ่มีบุคลากรมากถึง 3 ช่วงอายุอยู่ในที่ทำงานเดียวกัน และมีความหลากหลายของช่วงอายุ องค์การจึงต้องมีแนวทางในการบริหารบุคลากรในช่วงอายุที่หลากหลายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์การ ด้านนโยบายขององค์การ ด้านความคาดหวังของแต่ละช่วงอายุในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำงาน ด้านสร้างวัฒนธรรมองค์การ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านระบบการบริหารผลงานและการจูงใจด้านกลยุทธ์ในการสร้างความผูกพันต่อองค์การ และด้านช่องทางการสื่อสาร อีกทั้งการที่บุคลากรช่วงอายุ Generation Y มีจำนวนมากในองค์การ ผู้บริหารจำเป็นต้องดำเนินธุรกิจด้วยความมีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม สอดคล้องกับแนวปฏิบัติขององค์การในยุคการตลาด 3.0 พร้อมกับการปรับองค์การให้บุคลากรช่วงอายุนี้สนใจทำงาน 

Article Details

How to Cite
Khambunrat, W. (2015). Generation Management in Organizations of the Marketing 3.0 Era. Executive Journal, 35(2), 3–10. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/81289
Section
Academic Articles