“ร็องแง็ง” การบูรณาการกับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยทักษิณ

Authors

  • ยงกฤต สายเนตร Faculty of Fine Arts Thaksin University

Keywords:

ร็องแง็ง, การเรียนการสอน, การบูรณาการ, องค์ประกอบของดนตรี, Ronggeng, educational, Integration, Element of music

Abstract

บทความเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา รวบรวมและเก็บบันทึกเพลงและการแสดง ในพื้นที่ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และบูรณาการการสอนรายวิชาดนตรีพื้นบ้านไทย และส่งเสริมให้นิสิตได้เรียนรู้และได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ชุมชน ซึ่งเป็นการฝึกการทำงานร่วมกันระหว่างนิสิตสาขาดุริยงคศาสตร์กับนิสิตต่างสาขาวิชา และระหว่างนิสิตกับศิลปินพื้นบ้าน โดยการนำมาบูรณาการการสอนกับรายวิชาดนตรีพื้นบ้านไทย รายวิชาในหลักสูตรดุริยางคศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ขั้นตอนในการศึกษา ผู้เขียนได้มีการให้นิสิตลงพื้นที่เก็บข้อมูล และออกไปศึกษาดนตรีร็องแง็งในสถานที่จริง ประกอบไปด้วยนิสิตจำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น นิสิตสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ จำนวน 28  คน และนิสิตสาขาวิชาศิลปะการแสดงที่สนใจในเนื้อหารายวิชาและลงเรียนเป็นวิชาเลือกเสรี จำนวน 12 คน

สรุปผลการศึกษาครั้งนี้ ด้านการเรียนการสอนเป็นการบูรณาการการเรียนที่ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้และของชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาระบบการสร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้จากกระบวนการวิจัย และใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมกับชุมชน

          The aims of this article are to study the history and collection of music and performance. In Libong sub-district, Kantang district, Trang province. As the objective of educational activity in which hand-on experienced in the community and have an experience in working with local artist, Ronggeng is integrated in the subject of musical art, Faculty of Art, Thaksin University. The objective of this subject is focus on local music, with the activities consisted on knowledge of local music, how to study local music, musical instrument, composition, lyrics, local performance, and style of local music in the view of social science. Regarding to the effective of teaching, pedagogy in this subject are lecture and hand-on experience are provided. Moreover, students who taking this subject will gain more knowledge on conduct research about music.

Data were collect via observation participation. Teacher and students together were go to collect the data in the community. There were 40 students participated in the study in which 28 from musical art, 12 from performance art whom enroll as selective subject.

In conclusion, this academic activity is enhancing the local art preservation which can lead to the sustainable of Thai art and wisdom. Moreover, this is a development of publish method for promoting Thai art and wisdom, promoting how to do research on art. Last but not least, this considered as an effective method for promoting knowledge on local art with an interprofessional activity with the community.

Downloads

Published

2017-12-29

Issue

Section

บทความวิชาการ | Academic Article