การแสดงที่พัฒนามาจากนิทานเซน เรื่อง ภูตแพ้

Authors

  • จุติกา โกศลเหมมณี

Keywords:

แนวความคิด, รูปแบบ, การสร้างสรรค์การแสดง, concepts, forms, creation of the performance

Abstract

การศึกษาเรื่อง แนวความคิดและรูปแบบทางศิลปะการแสดง ในการแสดงภูตแพ้  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ การแสดงที่นำเสนอปรัชญาจากนิทานเซน เพื่อเพิ่มมุมมองชีวิตและสุนทรียภาพแก่เยาวชนและบุคลากรในระดับอุดมศึกษา เป็นการวิจัยสร้างสรรค์และวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษา ค้นคว้า ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสัมภาษณ์ และการสังเกต โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์เป็นการแสดง และสรุปผล

งานการแสดง ชุด ภูตแพ้ มีแนวความคิด 1. สะท้อนปรัชญานิทานเซนเป็นการแสดง 2. ภาพรวมสร้างรอยยิ้มแก่ผู้ชมได้ เลี่ยงความเครียดอันเกิดมาจากการตีความปรัชญา 3.ใช้ลูกคู่ที่นำเสนอด้วยการร้องเพลง เพื่อช่วยสรุปเรื่องแต่ละตอนทำให้การแสดงสั้นและกระชับ สะท้อนบุคลิกภาพของละคร 4. การเล่าผ่านเพลง เกิดความประทับใจได้ง่ายโดยเรียบเรียงเพลงที่แสดงถึงบุคลิกภาพของกลุ่มตัวละคร ประกอบกับเสียงพิเศษ เน้นอารมณ์ 5. แนวคิดการออกแบบการเคลื่อนไหว และการจัดองค์ประกอบศิลป์ 6. สร้าง ภูต เป็นตัวละครใหม่เพื่อเชื่อมนิทานเซนสองเรื่อง 7.บรรยากาศการแสดง เน้นการออกแบบสะท้อนความเป็นตะวันออก 8.การให้ความสำคัญกับพุทธศาสนา 9. การหลีกหนีมุมมองและประสบการณ์เก่า ในส่วนรูปแบบการแสดงเป็นละครกึ่งละครเพลง บทการแสดงดัดแปลงนิทานเซนสองเรื่อง นักแสดงมีความหลากหลายด้านพื้นฐานการแสดง  ลีลาการแสดงเคลื่อนไหวแบบละคร ใช้ลีลาในชีวิตประจำวัน และนาฏศิลป์ร่วมสมัย เพลงประกอบการแสดงแต่งขึ้นใหม่ ฉากและอุปกรณ์ประกอบการแสดงเสมือนจริงร่วมกับการใช้เทคนิคพิเศษ  ดัดแปลงพื้นที่ของอาคารเป็นโรงละครขนาดเล็ก แสงเน้นธรรมชาติ เครื่องแต่งกายใช้สัญลักษณ์เน้นความเรียบง่าย

 

The objectives of the study on performing arts concepts and forms in the performance “Puud-Pae” are to develop one particular performance rooted from Zen philosophy. It aims to propose additional views on life and a sense of aesthetics to learners and staff in tertiary education.This is the creative study using a qualitative design.The researcher collected data from electronic media, interviews, and observation. The data were then analyzed and synthesized, leading to development of the performance. The results were finally drawn.

The initiation of “Puud-Pae” was based on concepts as follows: (1) It reflects the Zen philosophy through performing arts; (2) Entertaining effects were created, avoiding stress caused by the attempts to interpret the complicated ideas of the Zen beliefs; (3) The chorus summarized each part of stories through singing, making the performance concise and most reflecting traits of the characters; (4) The stories were told through songs selected on a basis of best describing the characters’ traits and emphasizing emotion-based special sounds, leaving a positive impression on the audience;(5) There were a careful design of moves and organization of art elements; (6) Ghosts were created as new characters to connect two Zen stories; (7) The atmosphere was made oriental. (8) The impostance of Buddhism. (9) Escape the View and Old Experience. Regarding the performing form, it was a musical drama with an entertaining purpose.The scripts were created through adjustment of two Zen stories.The performers were valued for their background of performing skills.Their moves, designed from everyday life behaviors and contemporary art, were similar to those used in dramas.The music used was newly composed.The scenes and performing instruments were made most real, together with support of special techniques.The part of the building was transformed into a mini-theatre.The natural lighting was mainly used.The costumes were made symbolic with emphasis on simplicity.

Downloads

Published

2018-06-29

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article