การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์: ฉุยฉายธนบุรี

Authors

  • สุนันทา เกตุเหล็ก

Keywords:

การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทย, นาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์, ฉุยฉาย, The creativity of Thai Dance, Conservative Thai Dance, Chui Chai

Abstract

           บทความวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์: ฉุยฉายธนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์ ออกแบบ และเผยแพร่การแสดงนาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์ : ฉุยฉายธนบุรี ซึ่งอยู่ในรูปแบบของงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แนวคิดในการสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ไทย ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏศิลป์ไทย และการปฏิบัติการ โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ แล้วนำมาสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยตามลำดับ

ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์ในการแสดงชุด ฉุยฉายธนบุรี มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างสรรค์ตามแนวความคิดของการเชิดชูมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สถาบันอันทรงเกียรติที่เป็นแหล่งเรียนรู้ 2) นักแสดงที่มีทักษะและความสามารถทางด้านนาฏศิลป์ไทยและการสื่อสารอารมณ์ในการแสดง 3) การออกแบบเนื้อร้องและทำนองเพลง โดยการแต่งเนื้อร้องขึ้นใหม่แต่ยังคงรูปแบบฉันทลักษณ์ และการบรรเลงดนตรีตามลักษณะฉุยฉายแบบเต็ม 4) การออกแบบกระบวนท่ารำใช้ท่าหลักและท่าเชื่อมตามรูปแบบนาฏศิลป์ไทย โดยนำมาเรียงร้อยกระบวนท่าใหม่ให้สอดคล้องกับความหมายของเนื้อร้อง 5) การออกแบบเครื่องแต่งกายแบบนาฏศิลป์ไทย โดยใช้โทนสีของเครื่องแต่งกายจากสีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีเหลือง และสีขาว มาใช้เป็นโทนสีหลักในการออกแบบสีเครื่องแต่งกาย 6) การออกแบบพื้นที่เวทีการแสดง เน้นความสมดุลโดยใช้จุดกึ่งกลางเวทีเป็นแกนแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่าง ๆ นอกจากนี้ในด้านแนวคิดของการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์: ฉุยฉายธนบุรี ที่ปรากฏภายหลังการสร้างสรรค์ผลงานแล้ว พบว่ามีบางประการ ได้แก่ การคำนึงถึงท่ารำที่แสดงถึงสัญลักษณ์ และสะท้อนความหมายเพื่อการเชิดชูสถาบัน โดยผลจากการวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ ได้นำมาซึ่งการแสดงชุด ฉุยฉายธนบุรี อันจะเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์ต่อไป

A research article in the subject of the Creativity of Conservative Thai Dance: Chui Chai Dhonburi is aimed to stipulate the concept idea of creating, designing and publicizing the showing of Conservative Thai Dance: Chui Chai Dhonburi which is in form of the creative research by using the Thai Dance creative concept in association with the interview of the qualified person in the field of Thai Dancing Art and the practice as well as bringing all information to do an analysis and then a creativity of Thai Dance showing respectively.

The result of research is found that the Creativity of Conservative Thai Dance in the showing set of Chui Chai Dhonburi contains 6 compositions, i.e. 1) the creativity under the concept of glorification of Dhonburi Rajabhat University, a honorable institute where is a source of learning, 2) the actors and actresses who are skillful and capable of Thai Dance and have the emotional communication in the showing, 3) designing the lyric and melody of the song by composing a new lyric but it still remains in form of prosody and making of the music as per the characteristic of full Chui Chai, 4) designing the dancing posture to use  the main posture and linked posture as per the form of Thai Dance by bringing them to arrange for the new posture to be corresponding to the meaning of the lyric, 5) designing the costume in form of Thai Dance by using the colored tone of costume from the color of the University, i.e. yellow and white to be the main colored tone in designing the color of costume, 6) designing the spaces of showing stage is emphasized on a balance by using the middle point of the stage as a core to divide the spaces into various parts. In addition, on the concept of the Creativity of Conservative Thai Dance: Chui Chai Dhonburi appeared after the creativity of workpiece, it is found that there are some the following aspects: regarding the dancing posture signifies the symbol and reflects the meaning for glorification of the institute. The result of the creative research is acquired of the showing set of Chui Chai Dhonburi which will be a way of the Creativity of Conservative Thai Dance further.

Downloads

Published

2018-06-29

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article