นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ “คงคาอารตี” วิถีแห่งสายน้ำ

Authors

  • ฤตพชรพร ทองถนอม

Keywords:

นาฏยศิลป์สร้างสรรค์, คงคาอารตี, นาฏยศิลป์อินเดีย, Dance Creation, Ganga Aarti, Indian Dance

Abstract

บทความเรื่องนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ “คงคาอารตี” วิถีแห่งสายน้ำ เป็นการนำเสนอการแสดงที่ถ่ายทอดจากความเชื่อเรื่องการบูชาแม่น้ำของคนไทยและคนอินเดีย ตามวิถีความเชื่อที่มีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับแม่น้ำของคนไทยและคนอินเดียในรูปแบบต่างๆ ในเรื่องการบูชา ขมา และขอพร โดยให้ความสำคัญถึงพิธีคงคาอารตี ที่เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเป็นต้นกำเนิดของการบูชาพระแม่คงคา แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อ เรื่องวิถีชีวิต ประเพณี และขนบความเชื่อ
เกี่ยวกับการบูชาแม่น้ำของคนไทยและคนอินเดียตั้งแต่โบราณ โดยมีแรงบันดาลใจ และแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานจากประสบการณ์ตรงเมื่อครั้งไปศึกษานาฏยศิลป์อินเดีย ภารตะนาฏยัมของผู้เขียน ชาวเมืองเชื่อว่าแม่น้ำคงคาในช่วงที่ไหลผ่านเมืองพาราณสีเป็นช่วงที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และยังคงรักษาสืบทอดวิถีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการบูชาแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์อย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ จากการลงพื้นที่และศึกษาถึงจุดหมายแห่งความศรัทธา ประเพณีที่งดงามของชาวเมือง ทำให้ผู้เขียนเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานทางด้านนาฏยศิลป์ โดยการนำประสบการณ์ตรงที่ได้ใช้ชีวิตและได้เห็นวิถีแห่งความเชื่อความศรัทธาที่ชาวเมืองยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมา ถ่ายทอดเป็นการแสดงนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ “คงคาอารตี” วิถีแห่งสายน้ำ ในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ ผู้เขียนใช้รูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์อินเดียภารตะนาฏยัม ผสมกับ
นาฏยศิลป์ไทย และผสานด้วยกลิ่นอายของนาฏยศิลป์ตะวันตก เพื่อให้เกิดความร่วมสมัย เนื่องจากความเชื่อความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำคงคานั้น เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลกมาช้านานอย่างไม่ต้องสงสัย โดยการสร้างสรรค์งานจะอาศัยองค์ประกอบหลักทางด้านนาฏยศิลป์ทั้ง 7 แบบ อันประกอบด้วย 1) การออกแบบโครงเรื่องและ
บทการแสดงที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีการบูชาตามความเชื่อของผู้ศรัทธาที่มีต่อพระแม่คงคา 2) การออกแบบดนตรีที่นำมาใช้ประกอบการแสดงทั้งที่เป็นการบรรเลงของนักดนตรีเพื่อสร้างบรรยากาศ และสร้างสรรค์ขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดความร่วมสมัย 3) การคัดเลือกนักแสดงที่มีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ที่มีความหลากหลาย 4) การออกแบบลีลาและสัญลักษณ์มีการใช้ตามขนบแบบแผน และท่าทางที่ใช้ในชีวิตประจำวันในการสื่อความหมายและถ่ายทอดเรื่องราว 5) การออกแบบอุปกรณ์ที่ใช้แนวคิดมินิมอลลิสม์ มีความเรียบง่าย 6) การออกแบบเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงเป็นแบบอนุรักษณ์และสร้างสรรค์อย่างเรียบง่าย และ7) การใช้พื้นที่เวทีในลักษณะเปิด ภายใต้โครงเรื่องที่แบ่งการแสดงออกเป็น 3 องก์ ด้วยกันได้แก่ องก์ที่ 1 ความศรัทธาบูชาตามวิถี องก์ที่ 2 รับประเพณีจากพราหมณ์ องก์ 3 สืบสานตามความเชื่อ

This article aims to propose a dance performance conveying beliefs on the river worship rituals of Thai and Indian people in various forms, including worshiping, forgiving, and blessing, according to their ways of life which are tightly bound to the rivers.  The emphasis is on  This article aims to propose a dance performance conveying beliefs on the river worship rituals of Thai and Indian people in various forms, including worshiping, forgiving, and blessing, according to their ways of life which are tightly bound to the rivers.  The emphasis is on Ganga Aarti in Varanasi of India as it is the origin of the worship rituals of the holy River Ganga. This work is also inspired by the experience the writer gained while studying Bharatanatyam classical dance at Banaras Hindu University, Varanasi City of India.  It is believed among the locals in Varanasi that the passage of the River Ganga through Varanasi is sacred and they have continued to preserve the tradition of worshiping the sacred Ganga River until now.  The Ganga Aarti, the Way of the River is a contemporary dance performance created by integrating Bharatanatyam classical dance with Thai classical and Western dances.  This creative dance performance is composed of the 7 major elements:  1) a storyline and script design concerning the worship ritual to the goddess of the Ganga; 2) contemporary music composition used for the dance performance; 3) a selection of  talented dance performers; 4) a creation of traditional and daily life styles, postures, and symbols to convey meanings and stories; 5) an equipment design based on the concept of minimalism; 6) a costumes design with conservative and creative styles; and 7) a design of an open stage divided into 3 Acts: Faith, Brahman Tradition, and Inheritance.

Downloads

Published

2018-06-29

Issue

Section

บทความวิชาการ | Academic Article