การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด มหาเทวะรณสุบรรณ

Authors

  • คมชวัชร์ พสูริจันทร์แดง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Keywords:

การสร้างสรรค์, นาฏยศิลป์, มหาเทวะรณสุบรรณ, Creation, Thai classical dance, Mahathawaronnasubun

Abstract

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด มหาเทวะรณสุบรรณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ไทยแนวอนุรักษ์ จากแนวคิดของการสู้รบระหว่างพระนารายณ์และพญาครุฑ พัฒนาแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ในรูปกระบวนใหม่ที่สามารถใช้อ้างอิงในงานวิชาการได้ และเพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในด้านคติชนความเชื่อของคนไทยในด้านขององค์สมมุติเทพของพระนารายณ์ การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด มหาเทวะรณสุบรรณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ไทยแนวอนุรักษ์ จากแนวคิดของการสู้รบระหว่างพระนารายณ์และพญาครุฑ พัฒนาแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ในรูปกระบวนใหม่ที่สามารถใช้อ้างอิงในงานวิชาการได้ และเพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในด้านคติชนความเชื่อของคนไทยในด้านขององค์สมมุติเทพของพระนารายณ์  ผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด มหาเทวะรณสุบรรณ มีองค์ประกอบซึ่งจำแนกส่วนสำคัญออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่ แนวคิด วิธีการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ และขั้นตอนการสร้างสรรค์ทางนาฏยศิลป์ โดยมีแนวคิดมาจากคติความเชื่อของคนไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นั่นคือตำนานของพระนารายณ์ที่ได้พญาครุฑมาเป็นพาหนะประจำพระองค์ ในด้านของวิธีการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ผู้วิจัยได้นำองค์ความรู้เดิมทางนาฏยศิลป์ไทยมาปรับใช้ นำประสบการณ์ ความชำนาญที่สั่งสมมาเพื่อนำไปสู่การพัฒนากระบวนท่านาฏยศิลป์ใหม่ ที่ยังคงอยู่ในกรอบจารีตประเพณีของนาฏยศิลป์ไทย จึงได้มาซึ่งการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยแนวอนุรักษ์ชุดนี้ ต่อมาคือขั้นตอนการสร้างสรรค์ มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลทางวรรณคดีและประพันธ์บทในการแสดง 2) การบรรจุเพลง 3) การกำหนดรูปเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ในการแสดง 4) การออกแบบกระบวนท่ารำ 5) การคัดเลือกนักแสดง เมื่อได้องค์ประกอบสำหรับการแสดงครบถ้วนแล้ว หลังจากนั้นได้ขอความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏยศิลป์ไทยเป็นผู้ตรวจทานและแก้ไขเป็นขั้นตอนสุดท้าย และเมื่อได้รับคำรับรองจากผู้เชี่ยวชาญแล้วว่าเป็นชุดการแสดงที่ถูกต้องตามหลักจารีต และแบบแผนของนาฏยศิลป์ไทยแล้ว ผู้วิจัยจึงได้นำชุดการแสดงนี้ออกเผยแพร่สู่สาธารณชนในระดับนานาชาติ

Abstract

The Dance Creation by Mahathawaronnasubun aimed to study Thai classical conservative model from fighting concepts between Narayana and Garuda and develop Thai classical creative concepts in new paradigm which could be the academic references and to esteem king institutes in believable folklores in fictional Ramayana.    The Dance Creation by Mahathawaronnasubun aimed to study Thai classical conservative model from fighting concepts between Narayana and Garuda and develop Thai classical creative concepts in new paradigm which could be the academic references and to esteem king institutes in believable folklores in fictional Ramayana.    The findings were found that there were 3 significant parts in the Dance Creation by Mahathawaronnasubun  regarding concepts, creative Thai classical methods, and creative Thai classical steps which came from Thai believable folklores influenced by Hindu- Brahmins – Narayana legends having Garuda to be a Hindu vehicle.  As Thai classical creative aspects, the researcher adapted from the original Thai classical knowledge with experiences and expertise towards new procedures which remained Thai classical customary, led to this creative Thai classical conservation.  Consequently, there are 5 creative steps regarding 1) Study literary information and compose acting performance 2) Arranging  for  Thai incidental  music  3) Shaping the costume and equipment in the show 4) Dance posture design and 5) Casting.  After this component,  Thai classical experts reviewed and final edited until they guaranteed that they  were  series of conservative and stereotypical performances, finally, the researcher presented them to international publics.

Downloads

Published

2018-10-16

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article