การสืบทอดความรู้ด้านดนตรีไทยของครูสมภพ ขำประเสริฐ

Authors

  • ปกป้อง ขำประเสริฐ Chulalongkorn University
  • ภัทระ คมขำ

Keywords:

สมภพ ขำประเสริฐ, การสืบทอด, ดนตรีไทย, Somphop Khamprasert, Transmission, Thai music

Abstract

บทคัดย่อ

            งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิเคราะห์แนวทางการสืบทอดความรู้ด้านดนตรีไทยของครูสมภพ ขำประเสริฐ ทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคต ผลการวิจัยพบว่า ครูสมภพ ขำประเสริฐ ได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรีไทยจาก ครูพุ่ม โตสง่า
ครูโองการ กลีบชื่น ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) รวมถึงได้ศึกษาเพลงหน้าพาทย์เพิ่มเติมจาก
ครูหลวงบำรุงจิตรเจริญ (ธูป สาตรวิไล) และครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ความรู้ด้านดนตรีไทยของครูสมภพ ขำประเสริฐที่ปรากฏในงานวิจัยเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ ด้านการประพันธ์เพลง ด้านแนวทางการบรรเลง ด้านผลงานที่เป็นงานวิชาการ และด้านงานช่าง ในด้านการประพันธ์เพลงสามารถแบ่งตามบทบาทของเพลง ได้แก่ เพลงเพื่อบรรเลงรับใช้สังคมและเพลงที่ใช้สำหรับการประลองวง จำนวนทั้งสิ้น 66 เพลง ประเภทแนวทางการบรรเลงที่ท่านถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนตรงกัน  คือการแบ่งมือในการบรรเลงเครื่องตีอย่างเคร่งครัด ประเภทงานเอกสารทางวิชาการ 4 เรื่อง และกรรมวิธีการสร้างไม้ตีสำหรับเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ ผู้สืบทอดความรู้จากครูสมภพแบ่งเป็นสายการสืบทอด ดังนี้ สายลูกศิษย์ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) รุ่นเล็ก สายทายาท สายวัดหัวลำโพง สายวัดรวกสุทธารามและสายสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครปฐม

Abstract

             This qualitative research with the aim to analyze the transmission methods from which
Khru Somphop Khamprasert had acquired his Thai classical music knowledge and skills in the past, present and future. The study results showed that Khru Somphop Khamprasert was taught Thai classical music by Khru Phum Tosa-nga, Khru Ongkarn Kleebchuen and Khru Luang Pradit Phairoh (Sorn Silpabanleng) and had learned Phleng Na Phat from Khru Luang Bamrungchitcharoen (Thoop Satrwilai) and Khru Phum Bapuyawat.Thai classical music knowledge of Khru Somphop Khamprasert presented in this study can be categorized into four aspects including music composition, performance method, academic performance and carpentry. In respect to music composition aspect, it can be sub-divided based on the role of music played such as music for social service and music for band battling which consisted of 66 songs in total. The performance method which had been taught to every student, on the other hand, is strict hand positioning in percussion instruments performance whereas academic documentations comprised of four subjects and the last aspect comprised of carpentry method for Pi Phat percussion instruments.The successors of Khru Somphop’s knowledge on Thai classical music can be divided into the following: Khru Luang Pradit Pairoh Students (junior) Group, Hereditary Group, Wat Hua Lam Pong Group, Wat Ruaksuttharam Group and Nakhon Pathom Undergraduate Students Group.

Downloads

Published

2017-08-29

Issue

Section

บทความวิจัย | Research Article