วิธีการบรรเลงซออู้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมประกอบการแสดงของครูนิรมล ตระการผล

Authors

  • สุเมธ สุขสวัสดิ์ ครูพิเศษ(ซออู้) วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
  • บรรพต โปทา ฝ่ายวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ปี่พาทย์ไม้นวม, ซออู้, นิรมล ตระการผล

Abstract

บทคัดย่อ

ผู้เขียนได้ทำการศึกษาวิธีการบรรเลงซออู้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมเพื่อประกอบการแสดงของครูนิรมล ตระการผล   โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เพื่อรวบรวมข้อมูลและค้นคว้าจากตำราต่าง ๆ จึงพบว่าครูนิรมล ได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงซออู้จากหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูริยชีวิน) และครูอาวุโสอีกหลายท่าน ครูนิรมลได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องซออู้ให้นักเรียนวิทยาลัยนาฏศิลปและยังเป็นผู้บรรเลงซออู้ประกอบการแสดงละคร จึงถือได้ว่าท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบรรเลงซออู้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมเพื่อประกอบการแสดงเป็นอย่างยิ่ง

            จากการศึกษาบทบาทหน้าที่ของซออู้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมเพื่อประกอบการแสดงของครูนิรมล ตระการผล พบว่ามีประเด็นสำคัญหลัก 4 ประเด็น ได้แก่ 1.บทบาทการช่วยให้ผู้ขับร้องมีเสียงที่แม่นยำมากขึ้น 2.ตำแหน่งการนั่งบรรเลงซออู้ในวงปี่พาทย์ไม้นวม 3.การทำให้วงปี่พาทย์ไม้นวมมีเสียงที่กลมกล่อมยิ่งขึ้น 4.ส่งเสริมให้ผู้แสดงสื่ออารมณ์ผ่านบทบาทตัวละครได้สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบว่าวงปี่พาทย์ไม้นวมเพื่อประกอบการแสดงจะมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 เป็นการแสดงประกอบการแสดงระบำ ซึ่งจะมีข้อจำกัดของการบรรเลงที่เป็นระเบียบแบบแผน ลักษณะที่ 2 เป็นการแสดงประกอบการแสดงละคร ซึ่งจะเน้นการสื่ออารมณ์เป็นอย่างมากจึงมีการใช้เทคนิคการบรรเลงที่หลากหลายกว่าลักษณะแรกถือได้ว่าทั้งสองลักษณะมีการบรรเลงที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

Abstract

The writer has studied the method of the Saw-au playing of the Phiphatmainuam ensemble of Mrs.Niramon Trakarnphol by using the interview method and researching from text. The results revented that Mrs.Niramon was Khru luangphairoorseangsaw (Aun Durayachewin) and many of famous Thai Classical music master. She has educated the Saw-au playing to the students of the College of Dramatic Arts and she also have been playing saw-au for background music. Therefore, she is a specialist in the Saw-au playing in the Phiphatmainuam ensemble

The study of the role of Saw-au in Phiphatmainuam ensemble of Mrs.Niramon Trakarnphol was found that there are 4 main issues. 1. To (help) the singer to be more precise voice. 2.(the) sitting position for playing the Saw-au playing in the Phiphatmainuam ensemble. 3. To make the sound of Phiphatmainuam ensemble more smooth and 4. To encourage the actor to make a truly acting. In addition, there are 2 styles of the Saw-au playing in Phiphatmainuam ensemble. The first is playing for a kind of Thai classical dance (Rabum). Which has a restriction of regular play. The second is playing for Drama (Rakorn). It has to focus on emotion and use many technique move than the playing for Rabum

Downloads

Published

2017-08-29

Issue

Section

บทความวิชาการ | Academic Article