รูปแบบการจัดการแหล่งการเรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ : กรณีศึกษา หอศิลปะและวัฒนธรรม Model of Learning Center Management in Public University in Thailand : Case Study of Arts and Culture Museum

Main Article Content

พิศรวัส ภู่ทอง, อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์ Pissaravas Pootong, Ampawan Visavateeranon

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  1)เพื่อศึกษาสภาพการจัดดำเนินการและรูปแบบการจัดการของ หอศิลปะและวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) นำเสนอรูปแบบและแนวทางในการจัดการที่เหมาะสมแก่คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเพื่อการสัมภาษณ์ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร 2 คน และเจ้าหน้าที่ 3 คน จากหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น  และผู้บริหาร 3 คน และเจ้าหน้าที่ 2 คน จากหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า

  1. รูปแบบการจัดการหอศิลปะและวัฒนธรรมทั้งสองแห่ง มีดังนี้ 1) ภารกิจและการบริหาร

จัดการ มีโครงสร้างการบริหารที่อยู่ภายใต้หน่วยงานที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม โดยอธิการบดีได้มอบอำนาจให้ ผู้บริหารลำดับรองลงมาเป็นผู้ดูแลและมีคณะกรรมการที่แต่งตั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันบริหารงาน มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี มีกิจกรรมภายในที่ดำเนินการเองและการให้บริการเข้าใช้อาคารสถานที่ โดยรายได้จากการให้บริการเข้าใช้สถานที่จะนำส่งให้หน่วยงานต้นสังกัดและมีระเบียบการเบิกจ่ายเงินของมหาวิทยาลัย 2) การสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานเป็นเครือข่ายศิลปินและหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน  และ 3) ทุนทางชุมชน สังคม และวัฒนธรรม ส่งเสริมและเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานของหอศิลปะและวัฒนธรรมแต่ละแห่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

  1. แนวทางการดำเนินงานหอศิลปะและวัฒนธรรมที่เหมาะสม ควรมีการกำหนดโครงสร้าง

การบริหารงาน มียุทธศาสตร์การบริหารงานที่ชัดเจน ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม และบริหารสื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศในเชิงรุก ควรมีกลยุทธ์เพื่อสร้างเครือข่ายร่วมดำเนินงานทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะเครือข่ายของสถาบันการศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อสร้างความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 

 

The purposes of the research were 1) to study the condition of operational management and the management model of art and culture museum in public university, namely in Chiang Mai University and in Khon Kaen University 2) to present suitable model and management guidelines for the Faculty of Fine  Arts of Srinakharinwirot University

The sample for interview consisted of 2 executive officers and 3 officers in art and culture museum of Khon Kaen University and 3 executive officers and 2 officers in art and culture museum of Chiang Mai University. The research instrument is interview form.

The research findings  were as follows:

  1. Model of the management of art and culture museum in Khon Kaen

University and Chiang Mai University were as follows: 1) Mission and management model : an administrative structure of art and culture museum should be working in the relevant of art and culture organization, for which  the chancellor has authorized administrators on vice-level to act as a supervisor. Committees  are  set  up from related working units to cooperate in the administration. Annual action plans are made. Internal activities are carried out both by themselves and through the provision of usage services of the location. Income from usage service of the location is transferred to original affiliations and there are regulations for distributing money of the University. 2) An operative network for artists and working units of the government and the private sector is created. 3) Community, social and cultural capital supporting in each mission and management of art and culture museum.

2. Suitable guidelines for the work of art and culture museums should be made. The administrative structure needs to be based on a clear administrative strategy and working units in charge must have staff who know and understand arts and culture, administration of communication technology and IT and are well experienced with these areas. There should be mechanisms to establish a cooperative network domestically and internationally, especially a network for institutions of educations in the ASEAN countries to prepare for the ASEAN Economic Community in 2015. 

Article Details

How to Cite
Pissaravas Pootong, Ampawan Visavateeranon พ. ภ. อ. ว. (2016). รูปแบบการจัดการแหล่งการเรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ : กรณีศึกษา หอศิลปะและวัฒนธรรม Model of Learning Center Management in Public University in Thailand : Case Study of Arts and Culture Museum. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 8(2), 1–21. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fakku/article/view/85045
Section
Research Articles