การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ของเวลา สัญลักษณ์ และสิ่งก่อสร้าง

Main Article Content

ปกิต บุญสุทธิ์

Abstract

 


สิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับศาสนา พระราชวัง สนามกีฬาและสถานที่พักผ่อนทั้งในอดีตและในปัจจุบัน สามารถสะท้อนวิถีชีวิตมนุษย์นำเสนอให้เห็นถึงภาพของสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิอากาศ และภูมิปัญญาของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี


ในยุคเริ่มแรกมนุษย์ใช้ก้อนหินเป็นเครื่องมือเบื้องต้นในการล่าสัตว์และดำรงชีพเรียนรู้และปรับตัวเพื่อการปกป้องและคุ้มภัยตนเองจากธรรมชาติ การมองหาสถานที่เพื่อการอยู่อาศัยเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ถ้ำเป็นสถานที่แห่งแรกที่มนุษย์เลือกที่จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยและปกป้องคุ้มครองตนเองจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นมนุษย์จึงริเริ่มก่อสร้างสถานที่โดยการปรับและพัฒนาจากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติรอบตัว เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ ดินโคลนหรือก้อนหินสำหรับทำสิ่งก่อสร้างพื้นฐาน เช่น พื้นและหลังคาเสาคานรวมถึงการก่อสร้างที่เรียกว่า สถาปัตยกรรม เป็นส่วนสำคัญและมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่สะท้อนถึงเรื่องของวิถีชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์เวลา และสัญลักษณ์ นำมาสร้างสรรค์เป็นประติมากรรมที่ประกอบไปด้วยวัสดุสื่อประสมเช่น ไม้ โลหะ อิฐ และดินเผา นำเสนอเรื่องราวในโครงงานสร้างสรรค์ที่มีแนวคิดทางเนื้อหาของสิ่งก่อสร้าง


 

Article Details

Section
Articles

References

1. หนังสือพิมพ์คมชัดลึก, 15 พ.ย. 2554.

2. หนังสือพิมพ์คมชัดลึก, 8 พ.ค. 2557.

3. Bondan Molly. Candi in Central Java Indonesia. Indonesia: PT
Jayakarta Agung Offset, 1982.

4. Qiao, Yun. Ancient Chinese architecture. Hongkong: C&C joint
Printing Co.(H.K) Ltd, 1982.

5. Spawforth, Tony. The Complete Greek Temples. Singapore: Craft
Print Internation, 2006.