วิถีการดำรงอยู่ของการขับขานกะโลง

Main Article Content

ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี

Abstract

     บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของการขับขานกะโลง โดยทำการศึกษาหน้าที่ของการ   ขับขานกะโลงในอดีตที่ปรากฏในเอกสารต่างๆ และหน้าที่ของการขับขานกะโลงที่ปรากฏในสังคมปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าในอดีตมีการขับขานกะโลงเพื่อความบันเทิง โดยปรากฏหลักฐานข้อความอยู่ในวรรณกรรมร้อยกรองล้านนา ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงนิราศระยะทางเมืองนครเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังใช้ในการแอ่วสาวของชายหนุ่มล้านนาในอดีต ซึ่งปรากฏในบันทึกการเดินทางเรื่องชาวลาวทางตอนเหนือของประเทศสยาม รวมไปถึงการใช้การขับขานกะโลงเป็นส่วนหนึ่งของการจัดมหรสพสมโภชเมือง ซึ่งปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ส่วนบทบาทของการขับขานกะโลงที่มีต่อสังคมปัจจุบัน พบว่าใช้ประกอบการเทศน์ ใช้ประกอบการเรียกขวัญ ใช้ขับขานเพื่อการยกย่องสรรเสริญบุคคล ใช้แสดงเพื่อความบันเทิง ใช้ขับขานในงานบุญทั่วไป และใช้ในงานศพพระสงฆ์

 

Existence of chanting “Kaloang”

      

        This article aims to present the “Kalong” (poem), focusing on the roles of “Kalong” found in various documents and the ways it is performed today. It was found that in the past, “Kalong” was used for entertainment purposes. Archival records include the “Nirat Hariphunchai” and some related poems describing the journey from and to Chiang Mai. “Kalong” was also used when young men got to know women. This was found in the records of ethnic Lao in the North of Siam. “Kalong” was also performed as a form of celebration or for festivals, as recounted in the folklore of Chiang Mai. However, at present, “Kalong” still plays a role for Buddhist ceremonies, rituals, and also entertainment.

 

Article Details

Section
Academic article