ปฐมบทแห่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย

Main Article Content

กฤษณา หงษ์อุเทน

Abstract

สถาปัตยกรรมรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นจุดเริ่มต้นของ การเพาะบ่มต้นกล้าของสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการตกแต่งอาคารที่ต่างไปจากสถาปัตยกรรมไทยดั้งเดิม อันเป็นผลมาจากอิทธิพลของศิลปะจีน วัดราชโอรสรามคือต้นแบบสำคัญของ “วัดนอกอย่าง” สร้างขึ้นช่วงปลายรัชกาลที่ 2 และต่อมาได้กลายมาเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแนวพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น ยุคทองของการช่างสมัยรัตนโกสินทร์ ยังมีการออกแบบก่อสร้างสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ ที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประเทศสยามอีกด้วย เช่น โลหปราสาท วัดราชนัดดาราม และธรรมนาวา วัดยานนาวา เป็นต้น


 นโยบายการเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศตะวันตก การเร่งพัฒนาประเทศให้ทันสมัยในทุกๆ ด้านตามแบบแผนตะวันตก รวมทั้งการเปิดรับวิทยาการสมัยใหม่และเทคโนโลยีอันก้าวหน้าและทันสมัยของชาวยุโรปในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 คือปัจจัยหลักซึ่งทำให้ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และคตินิยมแบบตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาผสมผสานและมีอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมของไทย รสนิยมทางศิลปะที่เปลี่ยนไปในแนวสากลของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอุปถัมภ์ศิลปะทุกสาขา ส่งผลให้รูปแบบและเนื้อหาการสร้างงานศิลปะทุกสาขาโดยเฉพาะรูปแบบสถาปัตยกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามพระราชนิยม และเริ่มพัฒนาไปสู่แนวทางที่เป็นสากลมากขึ้นในระยะต่อมา สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม เป็นหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญ ที่นำพาประเทศให้ก้าวเข้าสู่ ยุคแห่งการแตกกิ่งก้านงอกงามของสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่


 ผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สะท้อนให้เห็นความรอบรู้ ความสันทัดจัดเจน และความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งกว้างขวางในสถาปัตยกรรมตะวันออกและตะวันตก รวมทั้งการนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบอย่างชาญฉลาด จนทำให้ทรงสามารถพัฒนาแนวคิดในการออกแบบและคลี่คลายรูปแบบการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมแนวใหม่อันเป็นเอกลักษณ์ของพระองค์เองได้สำเร็จ กลายเป็นแรงบันดาลใจและแบบแผนในการออกแบบสถาปัตยกรรมให้แก่ศิลปินรุ่นหลังในยุคต่อมา

Article Details

Section
Articles

References

1. กรมศิลปากร. ตำนานวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา
. พระนคร: กรมศิลปากร, 2512. (พิมพ์เป็น
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ล.รุจิ ศรีวรรณวัฑฒ์ ณ เมรุ
วัดอรุณราชวราราม วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2512).

2. กรมศิลปากร. ศิลปกรรมและช่างไทยจากสาส์นสมเด็จ. พระนคร: กรม
ศิลปากร, 2512. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
นายอุ่ณห์ เศวตมาลย์ ณ เมรุวัดแก้วแจ่มฟ้า สี่พระยา วันที่ 7 กันยายน
พ.ศ. 2512).

3.กองโบราณคดี, กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล
. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2535.

4. ______.ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากร ที่ 1. กรุงเทพฯ: กรม
ศิลปากร, 2536.

5. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. เรื่องพระปฐมเจดีย์. พิมพ์ครั้ง
ที่ 2. (พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชทานเพลิงศพ พระ
ธรรมสิริชัย (ชิต ชิตวิปุลเถร) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ณ เมรุ
สนามหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม วันที่ 23
มีนาคม 2528).

6. ดวงจิตร จิตรพงศ์, ม.จ. ป้าป้อนหลาน. กรุงเทพฯ: มปท. (พิมพ์เป็นที่ระลึก
งานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าดวงจิตร จิตรพงศ์ ณ เมรุหลวง
หน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 14 มีนาคม
พ.ศ. 2550).

7. น. ณ ปากน้ำ. ศิลปในกรุงเทพมหานคร ภาคแรก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์,
2520.

8. ______. ศิลปะกับโบราณคดีในสยาม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2520.

9. นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา และสมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สาส์นสมเด็จ
เล่ม 11
. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2504.

10. _____. สาส์นสมเด็จ เล่ม 16. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2505

11. มี มหาดเล็ก, นาย. กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2530 (จัดพิมพ์
เฉลิมพระเกียรติวันพระบรมราชสมภพครบ 200 ปี พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2530).

12. พิพัฒน์ จนฺทูปโม, พระมหา (บรรณาธิการ). ที่ระลึกงานเทศกาลนมัสการพระ
ปฐมเจดีย์ ปี 2526
. กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์, 2526. (คณะกรรมการ
แผนกจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกฯ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานเทศกาล
นมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ประจำปี 2526).

13. มาณพ อิศรเดช. สถาปัตยกรรมฝีพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ
วัดติวงศ์
. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2538.

14. เวลลา, วอลเตอร์ เอฟ. แผ่นดินพระนั่งเกล้าฯ. แปลโดย นิจ ทองโสภิต.
กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2514.

15. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี: วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดน
ไทย
. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2547.

16. สมใจ นิ่มเล็ก. “เอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า
อยู่หัว.” ที่ระลึกงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี. หน้า 409-423
กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2525.

17. สำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. บางกอก บอกเล่า
(เรื่อง) วัง
. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แก้วเจ้าจอม, 2555.

18. สุจริต ถาวรสุข. พระประวัติและงานศิลปะของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้า
ฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
. พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2511.

19. อุดมสมบัติ (จัน), หลวง. จดหมายหลวงอุดมสมบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. (พิมพ์เป็น
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงบุญเกื้อ เบญจกาญจน์.
ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2515).