การออกแบบและพัฒนาฉลากสินค้าด้วยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

Main Article Content

ชาตรี บัวคลี่

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research - PAR) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของผลิตภัณฑ์ชุมชนและพัฒนารูปแบบฉลากสินค้าชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ รวมถึงบูรณาการกระบวนการวิจัย การบริการวิชาการ และการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบฉลากสินค้าด้วยกระบวนการวิจัย ผู้มีส่วนร่วมในงานวิจัยได้แก่ ผู้ประกอบการ ลูกค้า นักออกแบบ นักวิชาการด้านการออกแบบ หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล หรือวิสาหกิจชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบ In-Dependent T-Test


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้ง 6 ผลิตภัณฑ์มียอดขายลดลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ใช้วัตถุดิบที่มาจากท้องถิ่น ราคาวัตถุดิบถูก จุดด้อย คือ อายุการเก็บรักษาสั้นและการหาช่องทางการสื่อสารการตลาด โอกาส คือ นโยบายสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของรัฐบาล และอุปสรรค คือ ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ ส่วนปัญหา คือ ความรู้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ รวมถึงงบประมาณในการสนับสนุนจากภาครัฐ ผลประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมต่อฉลากผลิตภัณฑ์เดิมพบว่ามีความพึงพอใจระดับน้อยทุกผลิตภัณฑ์ ข้อค้นพบที่โดดเด่น คือ ข้อมูลสำคัญสำหรับการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมต้องสะท้อนมาจากปัญหาและความต้องการภายในของผู้มีส่วนร่วมซึ่งสะท้อนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการวิจัย


  1. ผลการออกแบบฉลากสินค้าด้วยกระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับพอใจมาก เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างฉลากสินค้าเดิมกับฉลากสินค้าใหม่ พบว่าผู้มีส่วนร่วมมีความพึงพอใจต่อฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้นในระดับมากทุกผลิตภัณฑ์ (t>2.447) ข้อค้นพบที่โดดเด่น คือ ผลงานออกแบบฉลากจะสัมฤทธิ์ผลและเป็นที่พอใจของผู้มีส่วนร่วมได้ ต้องมาจากความเท่าเทียมและความสมดุลทางความคิดอย่างมีประชาธิปไตยจากผู้มีส่วนร่วม งานออกแบบจะต้องเชื่อมโยงกับรูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งต้องสะท้อนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยืน อันประกอบไปด้วยการสื่อถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น
    ภูมิปัญญา การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผ่านภาพประกอบ สี ตัวอักษร และลวดลายกราฟิก

  2. การประเมินผลสัมฤทธิ์การบูรณาการกระบวนการวิจัย การบริการวิชาการ และการเรียนการสอนของนักศึกษาก่อนและหลังการมีส่วนร่วม พบว่านักศึกษามีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นทุกด้าน นักศึกษาได้เรียนรู้การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ มีความรู้ด้านการวิเคราะห์ แปลผล และสรุปข้อมูลวิจัยมากที่สุด ข้อค้นพบที่โดดเด่น คือ การบูรณาการกระบวนการวิจัยกับการเรียนการสอนยังส่งผลให้นักศึกษาได้ฝึกการใช้ปฏิภาณไหวพริบเพื่อแก้ปัญหา โดยเฉพาะขั้นตอนการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) เนื่องจากทุกความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมมีความสำคัญต่อการออกแบบฉลากสินค้าเท่ากันทุกคนจึงต้องหาจุดกึ่งกลางหรือความสมดุลของความต้องการ เพื่อให้ได้ผลงานที่ตรงใจผู้มีส่วนร่วมมากที่สุด ทั้งนี้ การออกแบบอย่างมีส่วนร่วมยังสามารถลดทิฐิหรือการคิดหมกมุ่นแต่ความต้องการของตนเอง ความอยากเอาชนะ และการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ผลการวิจัยสามารถพัฒนาเป็นแบบจำลองการเรียนรู้ที่เกิดจากการบูรณาการงานวิจัย การเรียนการสอน และการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

Article Details

Section
Articles

References

1. ชมจันทร์ ดาวเดือน. “ผลการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบโครงสร้าง
และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรไทย.” วิทยานิพนธ์,
ดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปะและการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2557.

2. นรินทร์ สังข์รักษา และคณะฯ. “การพัฒนาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
‘เมืองโอ่ง ดินสุกและตุ๊กตา’ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการ
แข่งขันการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและเชื่อมโยงสินค้า OTOP กับ
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดราชบุรี.” วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย
35, 3 (กันยายน-ธันวาคม
2558): 45-47

3. ปาริชาติ สถาปิตานนท์ สโรบล. การสื่อสาร: กลไกสำคัญในการก้าวสู่ประชา
สังคมในศตวรรษที่ 21
. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2543.

4. ปาพจน์ หนุนภักดี. หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์.
นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์, 2553.

5. การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครปฐมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง.” รายงานวิจัย, ทุนสนับสนุนงบประมาณรายได้ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครปฐม, 2557.

6. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ, 2554.

7. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและศูนย์
สร้างสรรค์การออกแบบ. รายงานการศึกษาเบื้องต้นเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์
. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ, 2552.

8. อัจฉรา ศรีพันธ์. “กลยุทธ์การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาสินค้าและ
บริการเชิงวัฒนธรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนใน
จังหวัดเพชรบูรณ์.” ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับ
ชาติในวันคล้ายวันสถาปนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
.
หน้า 2-16. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.