ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบดูแล และส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • Deacho Saenpukdee คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Viyouth Chamruspanth คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการระบบดูแล, คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, จังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสำรวจ ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้บริหาร แกนนำ ผู้ที่เป็นตัวแทนองค์กรเครือข่าย และผู้ปฏิบัติงานหลัก ทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคท้องถิ่น และภาคชุมชน จำนวนรวม 26 คน ใช้วิธีการเลือกโดยยึดตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลัก จากนั้นทำการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ โดยใช้แผนที่ความคิด ทำให้ได้มาซึ่งภาพรวม (Holistic Perspective) ของข้อมูล และสามารถจำแนกหมวดหมู่ให้เป็น “ภาพย่อย” (Categories) จนได้มาซึ่ง “ภาพโยง” ที่สามารถเข้าใจได้ถึงความสัมพันธ์กันของชุดข้อมูล จึงทำการพรรณนาสรุปความเข้าใจแบบอุปนัย ตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และสังเคราะห์ข้อมูลเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบดูแล และส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จากนั้นนำปัจจัย ดังกล่าวนี้ เข้าสู่การประชุมร่วมกันของผู้แทนจากทุกเครือข่ายองค์กร จำนวน 2 รอบ เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  โดยใช้เทคนิคการระดมสมอง และบันทึกข้อมูลด้วยแผนที่ความคิด จึงได้สรุปข้อมูล ให้เป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบดูแล และส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครราชสีมา ที่มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบดูแล และส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ ภาวะผู้นำ เอกภาพในการทำงาน การสร้างแรงจูงใจ การทำงานเป็นทีม การจัดองค์กร การออกแบบเครือข่าย และการเสริมพลังเครือข่าย

References

เอกสารอ้างอิง
กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย. (2555). กระบวนการส่งเสริม และพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ ให้มีสมรรถนะสูงในการ บริหารจัดการเครือข่ายระดับท้องถิ่น. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับคณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. (2557). สวัสดิการสังคมไทย: ความสมดุลและยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ. (2560). การพัฒนารูปแบบการให้บริการสวัสดิการสังคม
ผู้สูงอายุ ผู้พิการและคนด้อยโอกาสทางสังคมพื้นที่ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารปกครอง, 6 (1): 185 - 206
บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ, ชมพูนุท สวนกระต่าย และ องอาจ ฤทธิ์ทองพิทักษ์. (2551). ทิศทางการรณรงค์ขับเคลื่อนสู่สังคมปลอดเหล้า: บทสังเคราะห์จากปฏิบัติการเครือข่ายศาสนาและชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ปิยากร หวังมหาพร. (2550). นวัตกรรมการนำนโยบายผู้สูงอายุไปปฏิบัติ. สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ไพฑูรย์ นิยมนา และดามธรรม จินากูล. (2552). การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการสังคมระดับอำเภอ กรณีศึกษาอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดนครราชสีมา.
ลลิตยา กองคำ และวริฏฐา แก้วเกตุ. (2556). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ: พื้นที่ต้นแบบและปัจจัยสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัย และพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
วิชัย แสงศรี. (2552). การศึกษาวิเคราะห์ และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษา ในเขตพื้นที่ชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2550). ศึกษากลไกการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน ของศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สอาดจิต เพ็ชรมีศรี. (2551). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการบริหารงานวิชาการ ตามแนวคิดการจัดการความรู้ ของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). Government by Network the New Public Management. Imperative by Williams D.Eggers & Stephen Goldsmith. กรุงเทพฯ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
Agranoff, R., & McGuire, M. (2001). Big Questions in public network management research. Journal of Public Administration Research and Theory.

Translated Thai References
Department of Agricultural Extension. (2012). The process of promoting and developing prototype local administrative organizations to high-performance in local level network management. Office of Welfare Promotion, Protection and Empowerment of Vulnerable Groups Ministry of Social Development and Human Security and Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University.
Khorpornprasert, B., S. Suankratay and O. Ritthongpitak. (2008). The direction of driven campaign to non-liquor society: a synthesis from operating a network of communities and religions. Bankok: ThaiHealth Promotion Foundation.
Kongkam, L. and W. Kaewket. (2013). To improve the quality of life for the elderly.: Areas and the key factors. Bankok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI).
Laosuwan, T. (2017) Developing a Model of the Social Welfare Services
for the Elders and Disabilities in Yang Noi Sub-district, Kosumpisai District, Maha Sarakham Province. Governance Journal, 6 (1), 185 - 206. Retrieved from https://www.tcithaijo.org/index.php/gjournal-ksu/

Niyomna, P. and D. Jinagool. (2009). A study model of networking management community welfare in district case study in Rasi Salai district, Si Sa Ket province. Technical Promotion and Support office Region 5 Nakhon Rachasrima Province.
Saengsri, W. (2009). An analysis and development of school network administration model in Northeastern rural area. (Dissertation of Chulalongkorn University).
Thongpakdee, N. (2014). Thai social welfare: Balance and sustainability. Bangkok: National Institute of Development Administration.
Whangmahaporn, P. (2007). The innovations on older persons policy implementation of local administration. Research Administration Division. Sripatum University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)