การศึกษาเปรียบเทียบการสร้างทางเลือกบริการสาธารณะแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุ ของเทศบาลเมืองแม่เหียะและเทศบาลตำบลหนองควาย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Piyawat Khueankaew คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • Thanyawat Rattanasak คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • Ubon Yawainawichai องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสร้างทางเลือก, บริการสาธารณะ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการสร้างทางเลือกบริการสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองแม่เหียะและเทศบาลตำบลหนองควาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูล คือ ผู้บริหารเทศบาล หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ องค์กรภาคประชาชน และชมรมผู้สูงอายุ ซึ่งเทศบาลเมืองแม่เหียะ มีจำนวน 21 คน และในส่วนของเทศบาลตำบลหนองควาย มีจำนวน 22 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการบริการสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองแม่เหียะและเทศบาลตำบลหนองควาย จังหวัดเชียงใหม่ จากผลการศึกษา พบว่า เทศบาลเมืองแม่เหียะได้จัดทำศูนย์สร้างสุขหรือโครงการดูแลผู้สูงอายุ โครงการตะล่อมฮอมฮัก โรยรามิโรยแรง และในส่วนของเทศบาลตำบลหนองควาย ได้จัดทำศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลหนองควาย ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสองได้สร้างทางเลือกบริการสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนทบทวนปัญหาผู้สูงอายุในพื้นที่ 2) ขั้นตอนจัดทำทางเลือกบริการสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) ขั้นตอนตัดสินใจเลือกบริการสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุ

References

เอกสารอ้างอิง
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. (Online) สืบค้นจาก http://thaitgri.org/?p=38427 เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา. (2542). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 (Online) สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/ work/planlocal/law.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2561.
สุภางค์ จันทวานิช. (2555). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 20).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Brandsen, T., & Pestoff, V. (2006). Co-production, the third sector and the delivery of public services: An introduction. Public management review, 8(4), 493-501.
Janet V. Denhaedt & Robert B. Denhaedt. (2007) .The new public service: serving, not steering. Expended ed. New York: ME Sharpe.
McGuire, Michael. (2003).Collaborative Public Management-Assessing What We Know and How We Know It. Public Administration Review, 33-43.
Osborne, S. P., Radnor, Z., Kinder, T., & Vidal, I. (2015). The SERVICE framework: A public‐service‐dominant approach to sustainable public services. British Journal of Management, 26(3), 424-438.
Perrott, B.E. 1996). Managing strategic issues in the public service. Long Range Planning. 29(3), 37-45.
Riege, A., & Lindsay, N. (2006). Knowledge management in the public sector: stakeholder partnerships in the public policy development. Journal of knowledge management, 10(3), 24-39.
Translated Thai References
Chantawanich, S. (2012). Qualitative Research Method.
(20 Edts).Bangkok: Chulalongkorn University
Foundation of Thailand Older Research and Development. (2016).
Report of Thai Older Status in 2016. Retrieved from http://thaitgri.org/?p=38427 Acessed 26 Feburary 2018.
Office of the Law Commission. (1999). The Plan and Procedure for
Decentralization to Local Government Organizations Act, 1999. (Online). Retrieved from http://www.dla.go.th/ work/planlocal/law.htm Accessed 1 April 2018.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)