มาตรการแทนมาตรการแทนที่การทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ ศึกษาจากความคิดเห็นของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมจังหวัดมหาสารคามที่การทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ ศึกษาจากความคิดเห็นของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • Amornthep Muangsean คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, มาตรการแทนที่, การทำแผนประกอบคำรับสารภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น 2. เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความเห็น และ 3. เพื่อเสนอแนะมาตรการที่จะนำมาใช้แทนที่การทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา คือ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม อันได้แก่ ทนายความ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ผู้พิพากษา ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม จำนวนทั้งสิ้น 395 คน  จากนั้นได้นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี แอล เอส ดี ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวม บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมจังหวัดมหาสารคามมีระดับความคิดเห็นต่อการทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ อยู่ในระดับมาก ( = 3.67) ส่วนระดับความคิดเห็นที่มีต่อมาตรการแทนที่การทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพนั้น เนื่องจากบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมจังหวัดมหาสารคามเห็นว่า มาตรการดังกล่าว มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ส่วนข้อเสนอแนะนั้น นอกจากจะต้องบัญญัติเพิ่มเติมกฎหมายในขั้นตอนของการทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพให้เกิดความชัดเจนแล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการจับกุมและหลังการจับกุม ก่อนที่จะนำตัวผู้ต้องหามาพบพนักงานสอบสวน

References

เอกสารอ้างอิง
ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์. ความคิดเห็นของนายทหารชั้นประทวนที่มีต่อการปฏิบัติงานในกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา. 2551.
ภัทรวิทย์ อบสุวรรณ. การทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพในกฎหมายไทย. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2550.
มนชยา อ่อนเรือง. ความคิดเห็นของทนายความต่อข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2550.
ศศิวรดา จันทรกูล. เจตคติของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมจังหวัดสมุทรสาครต่อการนําคดีข่มขืนกระทําชําเราของเด็กและเยาวชนเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล. 2550.
ศิริชัย พลการ. บทบาทของอัยการในการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรม. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 2550.
สมนึก ประจิตร์ . ความคิดเห็นของพนักงานสอบสวนสังกัดกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดต่อพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2549.
สิกฤษณ์ อังสัจจะพงษ์. สิทธิของผู้ต้องหาตามกฎหมายในขั้นตอนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนศึกษาเฉพาะกรณีการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 2548.
เสริมสกุล ขำวัฒนพันธุ์. ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาคดีอาญา ศึกษาเฉพาะกรณีการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2537.

Translated Thai References
Khamphan, P. (2008). The Comments of the 12th Floor Protesters. Thesis of the Master Public Administration. Chonburi: Burapha University.
Obsuwan, P. (2007). Crime Scence Reconstruction by the Accused to Support Confession of the Accused in Thailand. Thesis of the Master of Laws. Bangkok: Thammasat University.
Onruang, M. (2007). The Opinion of Lawyers to the Regulation of the Lawyers Council on Conduct of Lawyers Act B.E. 2529. Thesis of the Master of Arts. Bangkok: Kasetsart University.
Chantarakul, S. (2007). The Attitude of Samutsakhon’s Criminal Justice Personnel Toward Juvenile Rape Cases IN The Mediation System. Thesis of the Master of Arts (Criminology and Criminal Justice). NakhonPathom: Mahidol University.
Polsakan, S. (2007). The Roles of Thai Public Prosecutors in Checking the Justice System. Thesis of the Master of Laws (Criminal Justice and Criminal Justice). DhurakijPundit University.
Prajit, S. (2006). The Opinion of Investigators in the Narcotics Suppression Bureau Relating to the Addict Revival Ability Act, B.E. 2545. Thesis of the Master of Arts (Political Science). Bangkok: Kasetsart University.
Angsatchapong, S. (2005). Rights to Alleged Offender in Law of Interrogation with Inquiry Official Case Study: Especially Proceeding at the Scene of Crime Confession Assembly. Thesis of the Master of Laws. DhurakijPundit University.
Khamwatanapan, S. (1994). Problems Concerning Protection of the
Accused a Case Study of Reenactment of Scene of Crime to Support Guilty Plea. Thesis of the Master of Laws. Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)