แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของ บุคลากรด้านเวชระเบียน Guidelines for Competency Development of Medical Records Personel

ผู้แต่ง

  • ภัทร์ พลอยแหวน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร, ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ รองศาสตราจารย์ ดร, ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะ, บุคลากรด้านเวชระเบียน และการบริการทางการแพทย์, Competency Development, Medical Records Personnel, Services in Medicine

บทคัดย่อ

Medical record personnel currently play an important role in supporting the efficiency of working processes and services in medicine and public health sectors for people; and thus, there is a tendency of higher expectations for these professionals than in the past.  This research aims to 1) study the perceptions on the importance and the actual functional competency of medical records personnel; 2) analyze and prioritize their actual functional competency; and 3) suggest guidelines for their competency development.  The sample of this study was 97 medical records personnel who graduated in Medical Records degree in Thailand.  Key informants were eight medical records personnel from central hospitals.  The results reveal that 1) the sample group recognized the overall importance of functional competency of medical records personnel at the highest level 2) the sample group was aware of overall actual functional competency of medical records personnel at a high level  and 3) the urgent needs for their competency development are as follows: 1) medical records administration; 2) working space management; 3) the use of computer programs for medical records; and 4) IT management for medical records; all of which should be included in the guidelines for the competency development for medical records personnel. 

Keywords: Competency Development, Medical Records Personnel, Services in Medicine

ปัจจุบันบุคลากรด้านเวชระเบียนเป็นส่วนสนับสนุนให้การดำเนินงาน และการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และแนวโน้มความคาดหวังถึงสมรรถนะของบุคลากรเวชระเบียนที่สูงขึ้นกว่าในอดีต การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อความสำคัญและสภาพที่เป็นจริงของสมรรถนะเฉพาะของบุคลากรด้านเวชระเบียน 2) เพื่อวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของสมรรถนะเฉพาะของบุคลากรด้านเวชระเบียน และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านเวชระเบียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มบุคลากรด้านเวชระเบียนที่ได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรการศึกษาด้านเวชระเบียนในประเทศไทยจำนวน 97 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคลากรเวชระเบียนของโรงพยาบาลศูนย์จำนวนทั้งสิ้น 8 คน  ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อความสำคัญของสมรรถนะเฉพาะของบุคลากรด้านเวชระเบียนโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด    2) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อสภาพที่เป็นจริงของสมรรถนะเฉพาะของบุคลากรด้านเวชระเบียนโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก และ3) ความต้องการจำเป็นเร่งด่วนเพื่อพัฒนาสมรรถนะเฉพาะของบุคลากรด้านเวชระเบียนมีจำนวนทั้งสิ้น 4 ข้อ คือ ลำดับที่ 1ด้านการบริหารจัดการในงานเวชระเบียน ลำดับที่ 2 ด้านการจัดการพื้นที่ในการปฏิบัติงาน ลำดับที่ 3 ด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของงานเวชระเบียน และลำดับที่ 4 ด้านการจัดการเทคโนโลยีด้านเวชระเบียน ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านเวชระเบียนนั้นคือการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการในงานเวชระเบียน ด้านการจัดการพื้นที่ในการปฏิบัติงาน ด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของงานเวชระเบียน และด้านการจัดการเทคโนโลยีด้านเวชระเบียน

คำสำคัญ : การพัฒนาสมรรถนะ, บุคลากรด้านเวชระเบียน และการบริการทางการแพทย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-02