เจตคติต่อการข่มขื่นกระทำชำเราภรรยาตนเองของผู้ชายในจังหวัดหนึ่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย Attitudes to Marital Rape of Men in a Lower Northern Province of Thailand

ผู้แต่ง

  • อรุณี กาสยานนท์ อาจารย์ ดร, ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์ โครงการจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ความรู้ความเข้าใจ, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276, เจตคติ, การข่มขืนกระทำชำเราภรรยาตนเอง, Understandings, Criminal Code Section 276, Attitudes, Marital Rape

บทคัดย่อ

This study intended 1) to assess the perceptions of Section 276 of Thai Criminal Code, and attitudes towards spousal rape among male inhabitants of a lower northern province of Thailand, and 2) to investigate any relationship between demographic features, e.g., age, marital status, income, and occupation, and said attitudes through quantitative methodology, utilizing questionnaires to collect data among the samples of 400. The data analysis employed frequency, mean, percentage, Pearson’s correlation coefficient, and pairwise comparisons of means by least significant difference method at .05 statistical significance. The majority of the sample were 20 - 29 years of age (22.8%), married (53.0%), workers for hire (30.0%), and earning less than 15,000 per month (54.2%), mostly found to be lacking of comprehension of Section 276 of the Criminal Code (75.0%) and attitudes toward marital rape. Their cognition, feeing, and tendency towards such attitudes were consistently low. Occupation was the only correlated factor in this case; for instance, those employed as public servants/agents were observed to be of higher prevalence in terms of attitudes towards spousal rape.

Keywords: Understandings, Criminal Code Section 276, Attitudes, Marital Rape

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 และระดับเจตคติต่อการข่มขืนกระทำชำเราภรรยาตนเองของผู้ชาย ในจังหวัดหนึ่งบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย และ 2) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ของตัวอย่าง ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้ รวมถึง ระดับความรู้ความเข้าใจ กับระดับเจตคติดังกล่าว ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ชายที่อาศัยอยู่ในจังหวัดหนึ่งบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 20-29 ปี (ร้อยละ 22.8) สมรสแล้ว (ร้อยละ 53.0) ประกอบรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 30.0) มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 54.2) มีความรู้ความเข้าใจต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 อยู่ในระดับไม่มีความรู้ความเข้าใจ (ร้อยละ 75.0) และมีเจตคติต่อการข่มขืนกระทำชำเราภรรยาตนเอง อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าตัวอย่างมีเจตคติด้านการรับรู้ ด้านความรู้สึกและด้านแนวโน้มพฤติกรรม อยู่ในระดับน้อยเช่นเดียวกันทั้งสิ้น ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ของตัวอย่าง และระดับความรู้ความเข้าใจต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 กับระดับเจตคติต่อการข่มขืนกระทำชำเราภรรยาตนเอง พบว่าในกรณีนี้ มีเพียงปัจจัยด้านอาชีพเท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์กัน โดยตัวอย่างซึ่งประกอบอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นกลุ่มที่มีระดับเจตคติต่อการข่มขืนกระทำชำเราภรรยาตนเองสูงที่สุด

คำสำคัญ: ความรู้ความเข้าใจ, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276, เจตคติ, การข่มขืนกระทำชำเราภรรยาตนเอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-02