การมีส่วนร่วมของประชาชนอำเภอเขาวงในการบริหารของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ Participation of the People of Khao Wong District in the Administration of the Chief Executive of Kalasin Provincial Administrative Organization

ผู้แต่ง

  • ราเมศร์ เลิศล้ำ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตอำเภอเขาวง, นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบาสาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สิทธิชัย ตันศรีสกุล รองศาสตราจารย์ ดร., ประจำสาขาสาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การบริหาร, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์, Participation, Administration, Chief Executive of Kalasin Provincial Administrative Organization

บทคัดย่อ

The research aimed to study 1) the participation of the people of Khao Wong District in the administration of the chief executive of Kalasin Provincial Administrative Organization and 2) making suggestions and solving problems involving the participation of the people of Khao Wong District in the administration of the chief executive of Kalasin Provincial Administrative Organization. The sample consisted of 395 people who had the right to vote. The research instrument comprised a questionnaire containing a checklist and a 5-level rating scale, with the reliability of 0.96. The statistics employed were percentage, the mean and standard deviation. The results revealed that: 1. The participation of the people of Khao Wong District in the administration of the chief executive of Kalasin Provincial Administrative Organization, on the whole, was in the high level . When considered by aspect, all 4 aspects were found to be in the high level. Ranked in descending order, the top 3 aspects were: the aspect of searching for problems and their causes, the aspect of investment and working, and the aspect of monitoring and evaluation.   2. In making suggestions and solving problems involving the participation of the people of Khao Wong District in the administration of the chief executive of Kalasin Provincial Administrative Organization. The results are as follows: 1) The priority should be given to issues that take place in the community which are consistent with the needs of the people; the causes and facts of the problems resulting from the execution according to the plan should be examined, and they should be improved and be concretely contained in the annual development plan of the sub-district in accordance with the policy. 2) Opportunities should be given to the people for their participation in budget allocation and making details of all programs/ projects and proposing economic programs/ projects to be incorporated in the organization’s development plan. 3) Opportunities should be given to the people for their participation in giving opinions and making suggestions in the meeting of the Council of Sub-district Administration Organizations in making conclusion of the draft plan, and the people should be given opportunities to take part in the report of making plans and approval of plans in the meeting of the Council regularly and continuously. 4) Opportunities should be given to the people for their participation in examining the disbursement of the PAO in the annual expenditures, and the people should pay more attention continuously to monitoring and examining projects or activities that the chief executive has carried out in each project in order to prevent possible corruption.            

Keywords :  Participation, Administration, Chief Executive of Kalasin Provincial Administrative Organization

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนอำเภอเขาวง ในการบริหารของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ และ 2.เสนอแนะการแก้ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนอำเภอเขาวง ในการบริหารของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน  395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ แบบตรวจรายการ (Check List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน  ผลการวิจัยพบว่า  1.  การมีส่วนร่วมของประชาชนอำเภอเขาวงในการบริหารของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3  ลำดับแรก ดังนี้ ด้านการค้นปัญหาและสาเหตุของปัญหา ด้านการลงทุนและปฏิบัติงาน และด้านการติดตามและประเมินผล   2.  เสนอแนะและแก้ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนอำเภอเขาวง ในการบริหารของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์  ปรากฏผลดังนี้ 1. ควรให้ความสำคัญประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ประชาชนมีความต้องการ ตรวจสอบหาสาเหตุข้อเท็จจริงในปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานตามแผนฯ นำไปปรับปรุง และบรรจุลงในแผนพัฒนาตำบลประจำปีให้เป็นไปตามนโยบายให้เป็นรูปธรรม 2. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดงบประมาณและจัดทำรายละเอียดของแผนงาน / โครงการต่าง ๆ เพื่อนำไปจัดทำแผนพัฒนาขององค์การฯ 3. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าร่วมเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในที่ประชุมของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ในการสรุปร่างแผนฯ การจัดทำแผนฯ การเห็นชอบแผนฯ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และ 4. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณ และร่วมติดตามตรวจสอบโครงการ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดการทุจริตอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ :  การมีส่วนร่วม, การบริหาร, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-02