ปัญหาการสื่อสารของชาวญี่ปุ่นในการเข้ารับการบริการในโรงพยาบาลรัฐของไทย ; Communication Problems of Japanese People for Medical Services in Thai Public Hospitals

Authors

  • มธุรส แพทย์ชีพ สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Shinohara Nobuaki สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ปัญหาการสื่อสาร, ภาษาญี่ปุ่น, โรงพยาบาล, Communication Problems, Japanese Language, Hospital

Abstract

          บทความนี้ศึกษาปัญหาการสื่อสารของชาวญี่ปุ่นที่เข้ารับบริการด้านสุขภาพในโรงพยาบาลรัฐของไทย นำข้อมูลมาจากการสำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการสื่อสารในโรงพยาบาล ความจำเป็นของล่ามในโรงพยาบาล และความพึงพอใจต่อให้บริการในโรงพยาบาล  โดยวิเคราะห์ปัญหาการสื่อสารและลักษณะภาษาที่จำเป็นต่อการสื่อสารในการเข้ารับบริการสุขภาพในโรงพยาบาล พบว่าผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นมีปัญหาด้านการสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ในทุกขั้นตอนการให้บริการในโรงพยาบาล เนื่องจากไม่มีล่ามเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร และมีการแก้ปัญหาโดยการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง แต่ก็ยังพบปัญหาเนื่องจากความถนัดทางด้านภาษาอังกฤษของทั้งผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นและบุคลากรทางการแพทย์มีจำกัด การใช้ภาษาของทั้งสองฝั่งนั้นทำให้เกิดความผิดพลาดและเข้าใจไม่ตรงกันในการสื่อสาร ในการศึกษาลักษณะภาษาที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ได้แบ่งออกเป็นระดับคำศัพท์ วลี ประโยค และบทสนทนาขนาดสั้นในการสื่อสาร พบว่าคำศัพท์ที่จำเป็นนั้นเป็นคำศัพท์เฉพาะด้านการแพทย์ในหมวดการรักษาโรคทั่วไป ระดับประโยคนั้น การสื่อสารเป็นเพียงประโยคขนาดสั้นระดับไวยากรณ์พื้นฐานของไทย ส่วนระดับบทสนทนาพบว่า เป็นบทสนทนาที่ใช้บ่อยในการให้บริการในโรงพยาบาลและพบความแตกต่างทางวัฒนธรรมในด้านภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย อย่างไรก็ตามบทความนี้พบว่า บทสนทนาในการสื่อสารสารนั้นเป็นบทสนทนาขนาดสั้นเพื่อให้เกิดการกระทำมากกว่าการอธิบายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือผลการรักษา เนื่องจากทั้งชาวญี่ปุ่นและบุคลากรทางการแพทย์ไม่สามารถใช้ภาษากลางในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพได้

 

                                                                                         Abstract

           This article studied communication problems of Japanese people who went for medical services in Thai public hospitals. Data collection was primarily acquired by related literature reviews on communication problems in hospitals, necessity of medical interpreters in hospitals and satisfaction towards services in hospitals. From analyzing of communication problems and language types needed in medical services communication in a hospital, the results show that Japanese patients struggle with all levels of communication with Thai medical staffs because there are no medical interpreters available. English is used as the main language of communication. However, English competencies of both Japanese patients and Thai medical staffs are limited. Mistakes and confusions in communication therefore commonly take place. This article studies language types needed in medical services communication by categorizing the problems into vocabulary level, phrase level, sentence level, and short conversation level. The results show that necessary vocabularies are those of medical terminologies used in general medical treatments; in sentence level, the communication only requires short conversations with basic Thai grammatical usage; in conversation level, general medical service conversations found most frequently used. In addition, cultural differences in Japanese and Thai languages are also spotted. In short, conversations commonly used for medical services communication are precise and only aim for actions rather than explanation of medical treatments or results of the treatments, all of which are caused by English incompetencies of both Japanese patients and Thai medical staffs.

References

คณะเศษฐศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2018). องค์ประกอบของการพูด. สืบค้นจาก http://agecon- extens.agri.cmu.ac.th/Course_online/Course/352331.pdf เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2561.
คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. (2556). บทเรียนจากการประชุมวิชาการ (Quality Conference) ครั้งที่
4/2556 เรื่อง “บ่องตง...แพ้แล้วอย่าแพ้อีก”. สืบค้นจาก
http://www1.si.mahidol.ac.th/km/sites/default/files/u11/QC42556.pdf เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม
2561.
งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลศรีนครินทร์. (2561). จำนวนชาวญี่ปุ่นที่มารับบริการในโรงพยาบาล. ขอนแก่น:
โรงพยาบาลศรีนครินทร์.
ฐนิตา สุวรรณกิตติ. (2551). ความตองการลามในงานสาธารณสุขไทย กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชน ๓ แห่งในเขต
กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก http://www.arts.chula.ac.th/~tran/downloads/Tanita.pdf เมื่อวันที่
16 มิถุนายน 2560.
ธัญญารัตน์ สุขนิมิต และ สุทธีพร มูลศาสตร์. (2558). ความพึงพอใจของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 9(1), 87 -96.
รุ้งดาว ดีดอกไม้ และ ไกรชิต สุตะเมือง. (2555). ความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลเอกชนในกรณีฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ. 2(4), 121 -138.
วาสนา ประชาชนะชัย. (2555). 病院での日本語ภาษาญี่ปุ่นในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกลอเรียน.
ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล. (2554). คุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐบาล ในเขตจังหวัดปทุมธานี.
สืบค้นจากhttp://www.repository.rmutt.ac.th/bitstream/handle/123456789/833/124367.pdf
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2560.
ศิลปะชัย วัฒนเสย และพิษณุ มนัสปิติ. (2554). การปรับปรุงการบริการโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐบาล. สืบค้นจาก https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egie/images/IE-Network-Archives/2011/PDF/3.WPE/WPE42.pdf เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2560.
ศูนย์พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดขอนแก่น. (2560). แผนแม่บทเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. สืบค้นจาก
http://ecocenter.diw.go.th/index.php/konkean/27-2017-06-26-
03-43-13 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560.
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย.(2561). ประชากรชาวญี่ปุ่นในจังหวัดขอนแก่น. สืบค้นจาก :http://www.th.emb-japan.go.jp. เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561.
สมเกียรติ เชวงกิจวณิช. (2559). กลวิธีการแปลสำนวนแสดงวัฒนธรรมภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา. 32(2), 103 -118.

สราลี ตั้งเจริญ และ สมพล ทุ่งหว้า. (2554). พฤติกรรมและระดับความพึงพอใจของ
ผู้รับบริการต่อการบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร . สืบค้นจาก
http://www.smsmba.ru.ac.th/index_files/aec/group7 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2560.
สิริขวัญ สงวนผล. (2556). ล่ามการแพทย์ (ภาษาไทย-ญี่ปุ่น) ในโรงพยาบาลเอกชนของประเทศไทยและแนวทางการฝึกอบรมล่ามการแพทย์. สืบค้นจาก http://beyond.library.tu.ac.th/cdm/compoundobject/collection/thesis/id/27556/rec/3
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560.
สุรเดช ทองแกมแก้ว, อนิวัช แก้วจำนงค์ และวาสนา สุวรรณวิจิตร. (2557). พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้
บริการโรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สืบค้นจาก
http://www.hu.ac.th/Symposium2014/proceedings/data/3404/3404-3.pdf เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2560.
อรุณี ฉัตรไพฑูรย์, กฤตติกา แสนโภชน์, นครชัย ชาญอุไร และสุภาณี จิวาศักดิ์อภิมาศ. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริการชาวต่างชาติของโรงพยาบาลเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 3(2), 195 -220.
Sumita Culture Center & Production. (2009). お医者さんに、何て言う?痛いで困ったときの会話集.
Bangkok: SUMITA Limited Partnership
国立国語研究所. (2007). 病院の言葉を分かりやすくする提案. สืบค้นจาก http://pj.ninjal.ac.jp/byoin/ 
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560.
中小企業基盤整備機構.( 2004 ).『タイにおける現地日系中小企業実態調査(操業上の課題)』.สืบค้นจากhttp://www.smrj.go.jp/keiei/dbps_data/_material_/b_0_keiei/kokusai/pdf/h16_thailand.pdf เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560.
実用日本語表現語典. (2018). お大事に. สืบค้นจาก https://www.weblio.jp/content (วันที่ 31 พฤษภาคม 2561)
宮本節子.( 2012 ).『医師と外国人患者とのコミュニケーションについての考察―タイ
人医師への聞き取り調査から―』. สืบค้นจาก
http://ci.nii.ac.jp/els/contents110009591128.pdf. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560.

文部科学省.(2002).在外教育施設派遣教員安全対策資料 健康安全 感染症対策編 改訂版. สืบค้นจาก http://www.mext.go.jp/a_menu/shotou/clarinet/002/003/011.htm.
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2561.

文部科学省. (2018). 外来語の表記. สืบค้นจาก http://www.mext.go.jp/b_menu/hakusho/nc/k19910628002/k19910628002.html.
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2561.
渡辺幸倫. (2012).『タイ王国の国際病院における異文化コミュニケーションの課題』. 
สืบค้นจาก http://ci.nii.ac.jp/els/contentscinii_20170913173743.pdf. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560.

Downloads

Published

2019-05-24

How to Cite

แพทย์ชีพ ม., & Nobuaki, S. (2019). ปัญหาการสื่อสารของชาวญี่ปุ่นในการเข้ารับการบริการในโรงพยาบาลรัฐของไทย ; Communication Problems of Japanese People for Medical Services in Thai Public Hospitals. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 8(1), 241–268. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/143115

Issue

Section

บทความวิชาการ