การเปรียบเทียบคัมภีร์วิสุทธิมรรคและคัมภีร์วิมุตติมรรคเชิงวรรณกรรมวิจารณ์; A Comparative Study of Visuddhimagga and Vimuttimagga Scripture According to the Literary Criticism

Authors

  • สยาม ราชวัตร ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

วิสุทธิมรรค, วิมุตติมรรค, วรรณกรรมวิจารณ์, Visuddhimagga, Vimuttimagga, Literary Criticism

Abstract

          คัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นคัมภีร์แต่งโดยพระพุทธโฆสาจารย์ แห่งสำนักมหาวิหาร ส่วนคัมภีร์วิมุตติมรรค แต่งโดยพระอุปติสสะเถระแห่งสำนักอภัยคีรีวิหาร ทั้งสองคัมภีร์เป็นประเภทปกรณ์วิเสสที่ได้การยอมรับว่าอธิบายพระไตรปิฎกดีที่สุด  ผลการศึกษาเปรียบเทียบคัมภีร์ทั้งสองเชิงวรรณกรรมวิจารณ์ พบว่ามีทั้งความคล้ายคลึงกันและแตกต่างกันคือ (1) ด้านโครงสร้างคัมภีร์ ทั้งสองคัมภีร์วางลำดับเนื้อหาเป็นไปตามหลักไตรสิกขาคือศีล สมาธิ และปัญญา รวบรวมเนื้อหาไตรสิกขาไว้เป็นหมวดหมู่  (2) ด้านลักษณะการแต่งเป็นแบบวิมิสสะคือผสมผสานร้อยแก้วกับร้อยกรอง  (3) ด้านวิธีการอธิบายเนื้อหา ทั้งสองคัมภีร์มีความคล้ายคลึงกันคือเป็นลักษณะการตั้งคำถามคำตอบ ยกอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบประกอบการอธิบาย  ในประเด็นที่แตกต่างกันคัมภีร์ทั้งสองใช้บทอุทเทสหรือบทตั้งต่างกัน คัมภีร์วิสุทธิมรรคอธิบายเนื้อความมาก อ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มีการวินิจฉัยความ ดำเนินการอธิบายตามแนววิสุทธิ 7 และญาณ 16 ในขณะที่คัมภีร์วิมุตติมรรคอธิบายเนื้อหาแบบกระชับไม่อ้างอิงข้อมูลมากนัก ไม่มีการวินิจฉัยความ  (4) ด้านคุณค่าทางวรรณกรรมบาลี คัมภีร์ทั้งสองให้คุณค่าด้านประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และสำนวนภาษาทางศาสนา  (5) ด้านอิทธิพลต่อการศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งสองคัมภีร์เป็นต้นแบบการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์วิสุทธิมรรคจัดเป็นตำราอีกเล่มหนึ่งที่สำคัญในหลักสูตรการศึกษาภาษาบาลีของคณะสงฆ์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

 

                                                                                      

                                                                                        Abstract

          Visuddhimagga written by Buddhaghosa belongs to Mahavihara school, and Vimuttimagga authored by Arahanta Upatissa belongs to Abhayagirivihara school. Both of them were categorized as the best special texts to the Tipitaka. The results of a comparative study on the context of literary criticism are as follows. (1) On the structure, both of them have been designed the subject-matter following the Threefold Training, i.e., morality meditation and wisdom, explaining them in group. (2) Writing styles are mixed between prose and poetry. (3) On the method of explanation, both of them do the same method such as question and answer method, analogy method, but they do different way on the leading articles. Visuddhimagga explains with more details citing data from various sources and interprets the meaning according to 7 visuddhis and 16 ñāṇa while Vimuttimagga gives shorter explanation without reference and justification. (4) On the Pali literary work valuation, both of them explore the value of Sri Lankan Buddhist history, principles of Buddha’s teachings and religious language (5) As the influenced texts towards Buddhist study, both of them are manuals for practice meditation, and especially Visuddhimagga has been counted as a great treatise in the ecclesiastical curriculum of Thai Sangha from the former time till the present time.

References

เอกสารอ้างอิง
คณาจารย์ มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2535) .วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 . กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย .
__________. (2536) . วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย .
__________. (2534) . วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 1 . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย .
__________. (2534) .วิสุทธิมรรคแปล ภาค 2 ตอน 2 . กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย .
__________. (2534) .วิสุทธิมรรคแปล ภาค 3 ตอน 1 . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย .
__________. (2534).วิสุทธิมรรคแปล ภาค 3 ตอนจบ . กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย .
จำเนียร แก้วกู่ . (2539) . หลักวรรณคดีบาลีวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์ .
พัฒน์ เพ็งผลา . (2535) . ประวัติวรรณคดีบาลี . กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาภาษาไทยและภาษา ตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง .
พี . วี. บาปัต และคนอื่น ๆ . ( 2537 ). พุทธศาสนประวัติระหว่าง 2500 ปีล่วงแล้ว .
(พระมหาอมร อมโร และคนอื่น ๆ , ผู้แปล) . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สุรวัฒน์ .
พุทธโฆสาจารย์ , พระ . (2539) . วิสุทฺธิมคฺคปกรณํ ปฐโม - ทุติโย ภาโค . กรุงเทพมหานคร
: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย .
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . (2539) . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย .
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . ( 2500 ) . พระไตรปิฏกบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ . กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย .
ราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ), พระ . (2536) . ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3) . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย .
วิมุตติมรรคแปล. ( 2513) . (ปริสุทฺโธ ภิกฺขุ , ผู้แปล). พระนคร : เลี่ยงเซียงจงเจริญ .
วิมุตติมรรคแปล. (2541) . (พระราชวรมุนี และคณะ, ผู้แปล) . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม บริษัท เคล็ดไทย จำกัด .

วศิน อินทรสระ . (2521). สาระสำคัญแห่งวิสุทธิมรรค . (พิมพ์ครั้งที่ 3) . กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์บรรณาคาร.
สนิท ศรีสำแดง . (2534) . พุทธศาสนากับหลักการศึกษา : ภาคทฤษฎี ความรู้ . กรุงเทพมหานคร :
นีลนาราการพิมพ์ .
สุภาพรรณ ณ บางช้าง .(2526) . ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา . กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bapat , P.V. [1937] . Vimuttimagga and Visuddhimagga : A Comparative Study .Poona : The Calcutta Oriental Press.
Bhudantacariya Buddhaghosa . [1956] . The Path of Purification [Visuddhimagga] .
[Bhikkhu Nanammoli , Trans.] . Singapore : Singapore Buddhist Meditation Center .
Christmas Humphreys . [1975] . A Popular Dictionary of Buddhism . London : Curzon
Press Ltd.
E.W. Adikaram . [1994] . Early Histrory of Buddhism in Ceylon . The Buddhist Cultural Center : Sri lanka .
G. P. Malalasekera . [1974] . Dictionary of Pali Proper Names . London : Pali Taxt
Society .
Law , B.C. . [1993] . The Life and Work of Buddhagosa . Calcutta .
The Arahant Upatissa . [1961] . The Path of Freedom [Vimuttimagga] .[The Rev.
N.R.M.Ehara ,Soma Thera and Kheminda Thera, Trans] . Colombo :
The Saman Press .

Downloads

Published

2019-05-24

How to Cite

ราชวัตร ส. (2019). การเปรียบเทียบคัมภีร์วิสุทธิมรรคและคัมภีร์วิมุตติมรรคเชิงวรรณกรรมวิจารณ์; A Comparative Study of Visuddhimagga and Vimuttimagga Scripture According to the Literary Criticism. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 8(1), 289–309. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/155057

Issue

Section

บทความวิชาการ