การใช้ภาษาไทยในกระบวนการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติ; Thai Language Usage in Cross-cultural Communication Process of Foreigner Students

Authors

  • วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

การใช้ภาษาไทย, กระบวนการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม, นักศึกษาต่างชาติ, Thai language usage, cross-cultural communication process, foreigner students

Abstract

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาษาไทยในกระบวนการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษาต่างชาติทั้งหมด 48 คน  และนำเสนอผลการวิจัยในรูปของการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Research)

ผลการวิจัยพบว่า  นักศึกษาต่างชาติในฐานะผู้ส่งสารและผู้รับสารใช้ภาษาไทยในกระบวนการสื่อสารได้ดี

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัย  5 ประการ ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร  ทัศนคติ  ความรู้  ระบบสังคม  และวัฒนธรรม  นักศึกษาต่างชาติมีทัศนคติที่ดีต่อคนไทย และสังคมไทยมากที่สุดทำให้การเรียนรู้ภาษาไทยได้เร็วขึ้น และเข้าใจในวัฒนธรรมไทยมากขึ้น  นอกจากนี้ระบบสังคมและวัฒนธรรมไทยยังเอื้อต่อการพัฒนาด้านความรู้และทักษะการสื่อสาร    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการกับเพื่อนคนไทยช่วยให้เข้าใจลักษณะของคนไทยและบริบทของสังคมไทย  ส่วนช่องทางการสื่อสารที่ดีที่สุดคือ การสนทนาแบบตัวต่อตัว  และการสนทนาผ่านสังคมออนไลน์

 

Abstract

This qualitative research aimed to explore Thai language usage in cross-cultural communication of foreigner students. The methodology was the in-depth interview collecting data from 48 foreigner students, and the data presentation was analytical research.

As a result, foreigner students as a sender and receiver use Thai language well in process of communication based on 5 central aspects including communication skills, attitudes, knowledge, social system and culture. Positive attitudes towards Thai people and society will help the students to acquire Thai language rapidly and have better understanding of Thai culture. Thai social system and culture will be the facilitation of communication skills development. More importantly, informal communication with Thai companions will allow the students to perfectly know about characteristic of Thai people and social context. The best way of communicating is face-to-face communication and online communication.

 

References

ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ เผื่อนโชติ และพัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2557). การปรับตัวของนักศึกษาจีนที่เข้าศึกษาต่อ
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. นิเทศศาสตรปริทัศน์. 18(1): 75-86.
พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2560). การสื่อสารภายใต้มิติความหลากหลายทางวัฒนธรรมตามแนวคิด Geert
Hofstede Communication through Multi-Cultural Dimensions of Geert Hofstede.
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 25(47): 1-18.
เมตตา วิวัฒนานุกูล (กฤตวิทย์). (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ไหมไทย ไชยพันธุ์ และจิระสุข สุขสวัสดิ์. (2560). การปรับตัวทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกสอดคล้อง
กลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิม ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์
มสธ. 10(1): 191-213.
ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ. (2550). ทฤษฎีการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
อารดี อภิวงค์งาม. (2557). การเรียนรู้ภาษาผ่านการเรียนรู้แบบข้ามวัฒนธรรม. วารสารศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2(1): 105-117.
Berlo, David K. (1960). The Process of Communication. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Bonvillain, Nancy. (2003). Language, Culture, and Communication The Meaning of
Messages. 4th ed. New Jersey: Upper Saddle River.
Devito, J.A. (2007). The Interpersonal Communication book. 11th edition. Pearson Education,
Inc.
Osgood, Charles E. (1974). Nature of Communication Between Humans. Urbana, Ill:
University of Illinois Press.
Terry Mohan, Ray Archee, Myra Gurney, Julia T.Wood, Carol T. Tamparo andWilburta Q. Lindh.
(2013). Comu1030 Communication Skills: Spoken Language &Interpersonal. Victoria: Ligare Pty Limited.

Downloads

Published

2019-11-24

How to Cite

วงศ์ภินันท์วัฒนา ว. (2019). การใช้ภาษาไทยในกระบวนการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติ; Thai Language Usage in Cross-cultural Communication Process of Foreigner Students. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 8(2), 1–15. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/174901

Issue

Section

บทความวิจัย