ปมเอดิปัส การทำปิตุฆาต และอำนาจของพ่อ ในนวนิยายเรื่อง นาคราช ; Oedipus Complex, Patricide and the Force of Father in Novel Nakkharat

Authors

  • อรวรรณ ฤทธิ์ศรีธร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Keywords:

ปมเอดิปัส, ปิตุฆาต, อำนาจของพ่อ, นาคราช, Oedipus complex, Patricide, the Force of Father, Nakharat

Abstract

                   บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวนิยายเรื่อง นาคราช บทประพันธ์ของ แก้วเก้า โดยใช้ทฤษฎีทางจิตวิเคราะห์ ซึ่งยังคงมีความสำคัญในการวิเคราะห์วรรณกรรมอยู่ เนื่องจากเป็นแนวคิดพื้นฐานที่ใช้อธิบายระบบคิดของมนุษย์ แบ่งประเด็นการศึกษาออกเป็น 2 ประเด็นได้แก่ ประเด็นแรก ความปรารถนาในตัวลูกสาวและความต้องการความรักจากพ่อ และประเด็นที่สอง การทำปิตุฆาตและการผลิตซ้ำอำนาจของพ่อ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อ “อ่าน” นาคราช ในความหมายของ “พ่อ” ทำให้เห็นว่า ชาวเมืองมายที่เคารพนาคราชมีฐานะเป็น “ลูก” ตัวบทนำเสนอให้พ่อปรารถนาในตัวลูกสาวผ่านธรรมเนียมปฏิบัติคือ การทำพิธีกรรมส่งทายาทเพศหญิงไปเป็นบาทบริจาริกา โดยที่ตัวหญิงสาวที่ต้องทำพิธีกรรมดังกล่าว ก็ยินยอมด้วยความปรารถนาในตัวนาคราช เมื่อความเป็นตะวันตกเข้าครอบงำชาวเมืองมาย ทำให้พิธีถูกยกเลิกไป นาคราชไม่พอใจจึงสาปให้เพศชายในตระกูล ณ เมืองมายอายุสั้น เจ้าเมืองมายจึงคิดจะปราบอาถรรพณ์ของนาคราช ซึ่งนั่นหมายถึงการทำปมปิตุฆาต แต่สุดท้ายอำนาจของพ่อก็ไม่สามารถถูกทำลายลงได้ โดยสรุปแล้ว การสร้างอำนาจในตระกูล ณ เมืองมาย เป็นการผลิตซ้ำอำนาจของพ่อโดยมี “นาคราช” เป็นตัวแทนของอำนาจและจารีตประเพณี ซึ่งสุดท้ายแล้วยังคงดำรงอยู่

 

Abstract

                  This article aims to analysis novel Nakkharat written by Keaewkow. The main concept is psychoanalysis. The paper is divided two issues: (1) the desire of the daughter and the desire of the father and (2) patricide and the reproduction of force of father. The results are that rereading Nakkharat as a father leads to meaning Mai people as children. The novel is represented that the father desires to daughter by ritual. It is the female who committed for the wife of Nakkharat. The female became the wife of Nakkharat. In present, the modern period dominates the system of thought of Mai people and makes them abolish the ritual. Nakkharat was angry and cursed males in “Na Mueang Mai” Family to short-life. The king of Mai would like to destroy the curse word of Nakkharat as patricide. Finally, the force of father cannot be destroyed.

References

แก้วเก้า. (2539). นาคราช. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
ทอแสง เชาว์ชุติ. (2559). ปมอิดิปัสและประกาศิตของพ่อใน ข้างหลังภาพ กับ ชั่วฟ้าดินสลาย. ใน สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (บรรณาธิการ), ถกเถียงเรื่องคุณค่า, (183–222). กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ปนัดดา สดุดีวิถีชัย. นาคะจากตำนานสู่ Paranormal Romance ในนาคราช. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2561, จาก https://www.arts.chula.ac.th/~complit/studentclub/academic/panadda.htm.
พิเชฐ สายพันธุ์. (2539). “นาคาคติ” อีสานลุ่มน้ำโขง: ชีวิตทางวัฒนธรรมจากพิธีกรรมร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิริยะดิศ มานิตย์. (2559). ปมเอดิปัสในนิทานแปร์โรต์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยศ สันตสมบัติ. (2550). ฟรอยด์ และพัฒนาการของจิตวิเคราะห์: จากความฝันสู่ทฤษฎีสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัชนีกร รัชตกรตระกูล. (2549). ฉากในจินตนิยายของแก้วเก้า. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
อวยพร แสงคำ. (2557). ลักษณะเด่นของนวนิยายไทยที่มีตัวละครเป็นครุฑและนาค. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

Published

2018-12-27

How to Cite

ฤทธิ์ศรีธร อ. (2018). ปมเอดิปัส การทำปิตุฆาต และอำนาจของพ่อ ในนวนิยายเรื่อง นาคราช ; Oedipus Complex, Patricide and the Force of Father in Novel Nakkharat. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 7(2), 134–161. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/150147

Issue

Section

บทความวิจัย