เปรียบเทียบคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากขยะเศษใบไม้ที่ได้จากการอัดด้วยเครื่องอัดและอัดด้วยมือ (Quality Comparison of Leaf-Trash Chunk-Compressed Fuel by Compressor and Hand)

Authors

  • วัชราภรณ์ ยุบลเขต (Vacharaporn Yubolket) Graduate School, Khon Kaen University
  • ดร.ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม (Dr.Dariwan Settheetham)

Keywords:

เชื้อเพลิงอัดแท่ง (Compressed fuel), อัดด้วยเครื่อง (Compressor), อัดด้วยมือ (Hand)

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติเชื้อเพลิงอัดแท่งจากขยะเศษใบไม้โดยใช้แป้งมันสำปะหลังและน้ำยางพาราเป็นตัวประสาน อัดก้อนเชื้อเพลิงด้วยการอัดด้วยเครื่องและอัดด้วยมือ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเชื้อเพลิงตามมาตรฐาน ASTM เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง (มผช.238/2547) และถ่านไม้หุงต้ม (มผช.657/2547) ประเมินความเหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในชุมชน โดยทำการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของเศษใบไม้และตัวประสาน 5 อัตราส่วน ที่ 1 : 1, 1 : 1.1, 1 : 1.2, 1 : 1.3 และ 1 : 1.4 (kg/L) ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติของเชื้อเพลิง พบว่าเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ได้จากการอัดด้วยมือมีคุณลักษณะทางกายภาพที่แข็งแรง ไม่เปราะและไม่แตกหักง่าย เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติด้านเชื้อเพลิงตามมาตรฐานเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ใช้น้ำยางพาราเป็นตัวประสานผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสานจะมีค่าความร้อนต่ำกว่ามาตรฐาน เมื่อศึกษาความเหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนฟืนไม้ในชุมชน พบว่าเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสานจากการอัดด้วยมือมีความเหมาะสมที่สุดที่อัตราส่วนใบไม้ 1 กิโลกรัม ต่อตัวประสาน 1.4 ลิตร มีค่าความร้อน 3975.47cal/g ค่าคามชื้นร้อยละ 4.24 ปริมาณสารระเหยร้อยละ 3.31 ปริมาณเถ้าร้อยละ 7.47 ทดสอบความเหมาะสมจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงมีระยะเวลาการติดไฟนานถึง 27.48 นาที จากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างค่าความร้อนกับปริมาณอัตราส่วนของตัวประสานที่เพิ่มขึ้น R2  มีค่า 0.9456 มีความสัมพันธ์กันในทางสถิติ

This research is a study of quality comparison of leaf-trash chunk-compressed fuel by compressor and hand using tapioca flour and rubber tree latex as binders, also a study of ASTM standard fuel comparing standard value of community product chunk-compressed charcoal and common charcoal, then evaluation of its suitability as alternative fuel between leaves and binders in 5 ratios: 1:1, 1:1.1, 1:1.2, 1:1.3 and 1:1.4 kg/L. The results of quality analysis showed that fuel compressed by hand was physically strong, not brittle. When compared with that compressed using latex as binders and passed standard, while that compressed with tapioca flour as binders had heat value below standard, when considered its usefulness as alternative fuel for firewood, the community found that tapioca flour compressed by hand was the most suitable at ratio 1 kg of leaves: 1.4 L of bonders at 3975.47 cal/g, moisture 4.24%, volatile substance 3.31%, ash 7.74%. Test of suitable burning time revealed long burning for 27.48 minutes, and test of relationship between heat value and increasing binders’ ratio was statistically related at R2 = 0.9456

Downloads

Additional Files

Published

2017-10-26

Issue

Section

บทความวิจัย