การประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคในการประมาณค่าความจุของทางหลวง 4 ช่องจราจร นอกเมือง (เกาะกลางถนนแบบยก) Use of the Traffic Micro-Simulation Model to Estimate the Capacity of Rural 4-Lane Highway (Raised Median)

Authors

  • Wuttikrai Chaipanha นักศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Dr.Jumrus Pitaksringkarn อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • Dr.Ladda Tanwanichkul สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอค่าความจุสูงสุดและพัฒนาแบบจำลองในการประมาณค่าความจุของทางหลวง 4 ช่องจราจร นอกเมือง (เกาะแบบยก) ซึ่งได้พิจารณาปัจจัยที่มีผลกระทบประกอบด้วย ทางเชื่อม จุดกลับรถ และยวดยานขนาดใหญ่ โดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคซึ่งเป็นวิธีการที่ลดข้อจำกัดในการสำรวจข้อมูล สามารถจำลองสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่า ความจุสูงสุดของสภาพในอุดมคติเท่ากับ 2,160 คัน/ชั่วโมง/ช่องจราจร ในขณะที่ความจุของทางหลวงตัวแทนในสภาพสำรวจเท่ากับ 1,524 คัน/ชั่วโมง/ช่องจราจร ซึ่งมีค่าน้อยกว่าการคำนวณด้วยวิธี HCM 2010 ร้อยละ 23.5 โดยจุดกลับรถเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบสูงสุดเนื่องจากรบกวนกระแสจราจรบนทางหลวงทั้งการตัดกระแสจราจรในทิศทางตรงข้ามและกีดขวางการสัญจรในทิศทางเดียวกันเมื่อมีปริมาณจราจรรอกลับรถเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบจำลองสำหรับประมาณค่าความจุในรูปแบบของสมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นที่ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างความจุกับปัจจัยที่มีผลกระทบเพื่อเป็นแนวทางในการประมาณค่าความจุของทางหลวงที่มีลักษณะทางกายภาพที่ใกล้เคียงกันสำหรับประเทศไทยในอนาคต

This article aims to present the maximum capacity and develop a model for estimating the capacity of rural four-lane highway with raised median. The factors that affect the capacity considered in this study include: (1) Access-point (2) U-turn and (3) Heavy vehicle. In this study, the estimation of highway capacity used a traffic micro-simulation model, which is a method to reduce the limitations of survey data and it can also be simulated the driver behavior effectively. The result indicated that the maximum capacity on base condition is 2,160 pc/hr/ln and prevailing condition is 1,524 veh/hr/ln, that is less than the HCM 2010 calculation about 23.5% due to the unique characteristics of highways in Thailand. The u-turn is the most affected by the interruption of traffic stream on the highway both in the same direction and opposite direction. The multiple linear regression was derived from the relation between capacity and the factors affecting. Result can be used to guide the estimation of the capacity of a four-lane highway with similar cross-section for Thailand in the future.

Downloads

Published

2018-06-04

Issue

Section

บทความวิจัย