การบริโภคผักผลไม้และพืชผักพื้นบ้านของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นในชนบท อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี (Fruit and Vegetable Consumption and Wild Edible Plant Consumption of Rural Early Adolescent Students in Srithat District, Udonthani Province

Authors

  • มนฑิญา กงลา Khon Kaen University
  • เกียรติรัตน์ คุณารัตนพฤกษ์ Khon Kaen University

Keywords:

Fruit and vegetable consumption, Wild edible plant consumption, Adolescent students

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคผักผลไม้และพืชผักพื้นบ้านของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นในเขตชนบทของอำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มได้จำนวน 173 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์การบริโภคผักผลไม้ย้อนหลัง 24 ชั่วโมง แบบบันทึกความถี่การบริโภคผักผลไม้และพืชผักพื้นบ้าน และแนวคำถาม เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2554 วิเคราะห์คุณค่าสารอาหารด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป INMUCAL-Nutrients วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา เปรียบเทียบปริมาณการบริโภคผักผลไม้และพืชผักพื้นบ้านระหว่างวัยรุ่นชายและหญิงโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U test และหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการบริโภคผักผลไม้และภาวะโภชนาการของนักเรียนวัยรุ่นในชนบทโดยใช้สถิติ Fisher’s exact test ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่บริโภคผักผลไม้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานมีเพียงร้อยละ 3.3 และ 9.3 ตามลำดับ ปริมาณผักผลไม้และพืชผักพื้นบ้านที่นักเรียนบริโภคมีค่ามัธยฐาน 105.9 และ 11.1 กรัมต่อวัน ตามลำดับ มีความถี่ของการบริโภคผักผลไม้และพืชผักพื้นบ้าน 16 ครั้ง/สัปดาห์/คน และ 2 ครั้ง/สัปดาห์/คน ตามลำดับ นักเรียนส่วนใหญ่ได้รับวิตามินซีโดยค่ามัธยฐานของวิตามินซีที่ได้รับจากการบริโภคผักผลไม้ คิดเป็นร้อยละ 45.1ของปริมาณวิตามินซีที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน นักเรียนวัยรุ่นหญิงบริโภคผักผลไม้มากกว่านักเรียนวัยรุ่นชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) ส่วนปริมาณการบริโภคพืชผักพื้นบ้านระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.70) ปริมาณการบริโภคผักผลไม้มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของนักเรียนวัยรุ่นในชนบทอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=1.00) ดังนั้น จึงควรส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้และพืชผักพื้นบ้านในเด็กนักเรียนให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของนักเรียนในปัจจุบันและอนาคต และเป็นการอนุรักษ์พืชผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าของไทยไว้ตลอดไป

Downloads

Additional Files

Published

2014-10-24

Issue

Section

วิทยาศาสตร์สุขภาพ